ในปี 2560 นั้น เวียดนามมีมูลค่าการควบรวมกิจการจากต่างชาติในอุตสาหกรรมการบริโภคและค้าปลีกสูงถึง 392,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สอดคล้องกับมูลค่ารวมในภาคการค้าปลีกของเวียดนามที่สูงเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ในขณะนี้มีผู้เล่นสำคัญในตลาดค้าปลีกทั้งบริษัทเวียดนามและต่างชาติ อาทิ ร้าน Circle K จากสหรัฐอเมริกา Mini Stop และ GS25 จากเกาหลีใต้ 7/11 และ Family Mart จากญี่ปุ่น ห้างสรรพสินค้า Big C ของไทย รวมถึงร้าน Vinmart ร้านค้าสะดวกซื้อสัญชาติเวียดนามที่มีสาขามากกว่า 900 แห่งทั่วประเทศ และอีกหลายบริษัทที่ได้เข้ามามีส่วนแบ่งในธุรกิจนี้ ยิ่งตอกย้ำความพร้อมและศักยภาพของตลาดค้าปลีกของเวียดนามที่มีแนวโน้มจะโตขึ้นได้อีกในอนาคต[su_spacer size=”20″]
เพื่อรองรับแนวโน้มที่ต่างชาติเข้ามาทำการค้าและลงทุนด้านค้าปลีกในเวียดนามเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลเวียดนามจึงได้ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินกิจการทางการค้าและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ลงทุนโดยชาวต่างชาติ คือ กฤษฎีกาหมายเลข 09/2018/ND-CP หรือที่เรียกกันทั่วไปสั้น ๆ ว่า “กฤษฎีกา 09” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2561 โดยกำหนดบริษัทที่เข้าข่ายเป็นบริษัทต่างชาติไว้ 2 แบบ คือ บริษัทที่มีการลงทุนของต่างชาติ (ไม่จำกัดสัดส่วนร้อยละของการลงทุน) และบริษัทที่ต่างชาติควบคุม (มีการลงทุนจากต่างชาติเทียบเท่าหรือมากกว่า 51%)[su_spacer size=”20″]
ในแง่การอำนวยความสะดวก อาจมองได้ว่า กฤษฎีกา 09 มีข้อดีที่ลดขั้นตอนและจำนวนใบอนุญาตดำเนินธุรกิจสำหรับการนำเข้า-ส่งออก และค้าปลีก ตลอดจนมีความชัดเจนว่าธุรกิจประเภทใดที่จะต้องขอใบอนุญาตเพิ่มเติมจากการขอใบอนุญาตดำเนินธุรกิจโดยทั่วไป เช่น การกระจายสินค้าสำหรับค้าปลีก การให้บริการด้านโลจิสติกส์ และยังมีการระบุกรอบระยะเวลาในการขอใบอนุญาต และหน่วยงานที่รับผิดชอบเอาไว้อย่างชัดเจน[su_spacer size=”20″]
ในขณะเดียวกัน กฤษฎีกา 09 ได้เพิ่มกฎระเบียบสำหรับธุรกิจการค้าปลีกที่มีการร่วมทุนจากต่างชาติ โดยในขั้นต้นจะต้องขอใบอนุญาตค้าปลีก (Retail Out-let license) ที่มีข้อกำหนดอนุญาตเฉพาะนักลงทุนที่มาจากประเทศสมาชิก WTO และเป็นบริษัทที่มีแผนการเงินที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งมีการจ่ายภาษีครบถ้วนและมีหลักฐานชัดเจนในการซื้อหรือควบรวมกิจการค้าปลีกของเวียดนามที่มีสาขาและใบอนุญาตเดิมอยู่แล้ว บริษัทต่างชาติก็จำเป็นต้องขอใบอนุญาตค้าปลีกใหม่ และขอใบอนุญาตสำหรับแต่ละสาขาด้วย โดยการขอใบอนุญาตนั้นต้องผ่านกระบวนการเห็นชอบจากส่วนกลาง คือ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ กฤษฎีกา 09 ยังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดสาขาของร้านค้าปลีกของบริษัทต่างชาติและบริษัทที่มีการร่วมทุนโดยต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นภายใต้แบรนด์เดียวกันหรือใช้ชื่ออื่น หากเป็นบริษัทแม่เดียวกัน จำเป็นต้องทำการประเมินความจำเป็นทางเศรษฐกิจ (Economic Need Test: ENT) ทั้งสิ้น เว้นแต่เข้าข่ายข้อกำหนด ได้แก่ 1. เป็นร้านค้าปลีกที่มีขนาดเล็กกว่า 500 ตารางเมตร 2. มีที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า และ 3.ไม่เป็นมินิมาร์ตหรือร้านค้าสะดวกซื้อขนาดเล็ก ซึ่งกฤษฎีกา 09 ได้กำหนดคำจำกัดความของร้านค้าสะดวกซื้อไว้ค่อนข้างกว้างมากว่าเป็นร้านค้าปลีกที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค อาหาร เครื่องดื่ม อาหารเฉพาะทาง สินค้าสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบวิธีการของ ENT เนื่องจากกฤษฎีกานี้เพิ่งบังคับใช้ในช่วงต้นปี จึงยังไม่มีตัวอย่างการลงทุนจากต่างชาติในธุรกิจนี้ภายหลังกฎหมายบังคับใช้[su_spacer size=”20″]
กฤษฎี 09 ฉบับนี้จึงเพิ่มความท้าทายต่อการทำธุรกิจของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าปลีกในเวียดนามมากขึ้น เริ่มจากการตีความว่าบริษัทต่างชาติที่รวมทุนแบบใด สัดส่วนเท่าใดจึงจะเข้าข่ายถูกบังคับใช้เกี่ยวกับการเปิดสาขาโดยกฎหมายใหม่นี้ รูปแบบ ขั้นตอนและค่าใช้จ่ายของการทำ ENT และอื่นๆ ผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะเข้ามาทำธุรกิจการค้าและลงทุนในธุรกิจค้าปลีกในเวียดนามจึงจำเป็นจะต้องศึกษากฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆอย่างถี่ถ้วน โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการลงทุนที่มีชาวต่างชาติถือหุ้นจำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 51% และที่สำคัญการทำการค้าการลงทุน ทำธุรกิจในเวียดนามนั้นควรปรึกษาบริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมายที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นการป้องกันปัญหาทางกฎหมายในอนาคต[su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์