ทีมนักวิจัยจากศูนย์นวัตกรรมร่วมด้านวัสดุพลังงานหมุนเวียน (Collaborative Innovation Center of Renewable Energy Materials) ของมหาวิทยาลัยกว่างซี ประสบความสําเร็จในการพัฒนาวัสดุกราฟิน (Graphene) สําหรับการปูพื้นผิวสะพานได้สําเร็จเป็นที่แรกของโลก[su_spcaer size=”20″]
“กราฟิน” เป็นวัสดุใหม่แห่งโลกอนาคตที่กําลังได้รับความสนใจจากแวดวงวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ด้วยคุณสมบัติอันน่าพิศวงของกราฟินที่มีความแข็งแรงมากกว่าเพชร 100 เท่า เป็นตัวนําไฟฟ้าและความร้อน มีความโปร่งแสง มีความยืดหยุ่น และมีน้ำหนักเบา ทําให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเร่งพัฒนางานวิจัยเพื่อนําวัสดุดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับสิ่งของรอบตัวทั้งด้านพลังงาน เทคโนโลยีชีวภาพ ทรัพยากรน้ำอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต อากาศยานและอวกาศ และรถยนต์[su_spcaer size=”20″]
เมื่อปี 2552 ได้มีการเปิดใช้งานสะพานหนานหนิง ซึ่งเป็นสะพานคอนกรีตรูปกล่อง ด้วยลักษณะจําเพาะของพื้นผิวสะพานที่มีความยืดหยุ่นสูง มีความอ่อนไหวต่ออุณหภูมิ และแอสฟัลต์คอนกรีตกับโครงสร้างเหล็กยึดเกาะกันยากทําให้เทคนิคการปูพื้นผิวสะพานเป็นโจทย์ที่มีความยากระดับโลกมาโดยตลอด หลังจากเปิดใช้งานมานานเกือบ 10 ปี สะพานแห่งนี้เกิดปัญหาต่างๆ เช่น รอยแตกร้าว พื้นผิวสึกกร่อน เป็นรอยร่องล้อ และเกิดการผิดรูป จึงจําเป็นต้องทําการปิดซ่อมครั้งใหญ่ ซึ่งไฮไลท์ของการปิดซ่อมบํารุงของสะพานครั้งนี้ คือ การใช้แอสฟัลต์ที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยวัสดุยางผสมกับวัสดุกราฟิน ซึ่งเป็นผลงานวิจัยและพัฒนาร่วมกันระหว่างทีมวิจัยของ ศ.ดร. เสิ้น เผยคัง (Shen Peikang) ศูนย์นวัตกรรมร่วมฯ มหาวิทยาลัยกว่างซีกับบริษัท Guangxi Zhenglu Machinery Technology Co., Ltd.[su_spcaer size=”20″]
ไม่นานมานี้ ทีมวิจัยของศูนย์นวัตกรรมร่วมด้านวัสดุพลังงานหมุนเวียนของมหาวิทยาลัยกว่างซีประสบความสําเร็จในการวิจัยและพัฒนาวัสดุกราฟินทําเป็นโครงสร้าง 3 มิติที่มีประสิทธิภาพสูง มีคุณสมบัติโดดเด่นด้านแสง การนําไฟฟ้า การนําความร้อน และกลศาสตร์ ในช่วงต้นปี 2560 ทีมนักวิจัยกับบริษัทฯ ได้ทดลองเติมวัสดุผงกราฟินลงในยางผง (Powder Rubber) จนมาเป็นเทคโนโลยีพื้นผิวถนนแอสฟัลต์ที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยวัสดุยางผสมกับวัสดุกราฟินโครงสร้างแบบ 3 มิติที่นํามาใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก ซึ่งจุดเด่นของแอสฟัลต์ที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยวัสดุยางผสมกับวัสดุกราฟิน คือ ปราศจากสารพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีค่าความเสถียรในอุณหภูมิสูง ทนต่อการแตกร้าวในอุณหภูมิต่ำ มีค่าความหนืดและการยึดเกาะพื้นผิว โดยหลายปีมานี้ รัฐบาลกว่างซีให้ความสําคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมกราฟิน และได้กําหนดให้เป็นอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ (ในกลุ่มอุตสาหกรรมวัสดุสมัยใหม่) ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2559-2563)[su_spcaer size=”20″]
ตามรายงานผลงานความสําเร็จของมหาวิทยาลัยกว่างซีในการพัฒนาวัสดุกราฟินโครงสร้าง 3 มิติในเชิงอุตสาหกรรมนับเป็นผลความสําเร็จครั้งสําคัญของเขตฯ กว่างซีจ้วงในแวดวงวัสดุใหม่ของงานคมนาคมขนส่ง เป็นการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบเชิงปริมาณสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และเป็นต้นแบบแรกของจีนและของโลก[su_spcaer size=”20″]
การใช้ประโยชน์แอสฟัลต์ที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยวัสดุยางผสมกับวัสดุกราฟินในเชิงพาณิชย์ แม้ว่าจะมีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ราว 15% แต่มีประสิทธิภาพสูง คาดว่าสามารถแก้ไขปัญหาถนนในจีนที่มีอายุการใช้งานระยะสั้นได้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ทีมนักวิจัยพร้อมใช้โอกาสดังกล่าวในการพัฒนาระบบนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการตลาด (เชิงพาณิชย์) และส่งเสริมการบูรณาการเชิงลึกด้านการวิจัยการศึกษาการผลิตวัสดุกราฟิน เพื่อให้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างประโยชน์เศรษฐกิจและสังคมได้มากยิ่งขึ้น[su_spcaer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง