ศูนย์คอนเทนเนอร์รถไฟนครคุนหมิงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4พฤศจิกายน 2549 โดยบริษัทChina United International Rail Containers Co., Ltd. (CUIRC หรือCRIntermodal) เป็นศูนย์คอนเทนเนอร์รถไฟ 1 ใน 18 แห่งของจีน ที่ CUIRC ก่อสร้างขึ้นในเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีนครคุนหมิง และพื้นที่โลจิสติกส์หวังเจียยิ่ง ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เขตโลจิสติกส์สําคัญในนครคุนหมิง จึงถือเป็นท่าเรือบกที่สําคัญอีกแห่งหนึ่งของจีน ที่รัฐบาลมุ่งหวังให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟของมณฑลยูนนานที่เชื่อมจีนตอนในกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่1,239 หมู่ (ประมาณ 516 ไร่) สามารถรองรับสินค้าได้ปีละ400,000 TEU (ขนาดตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต) ปริมาณรองรับสินค้าในปัจจุบันติด 3 อันดับแรก จาก 12 แห่งในจีนที่เปิดดําเนินการแล้ว[su_spacer size=”20″]
ภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วย อาคารสํานักงาน 5 ชั้น 1 อาคาร (ชั้น 1เป็นจุดบริการลูกค้า) และพื้นที่ขนส่งสินค้า โดยพื้นที่ขนส่งสินค้าสามารถวางตู้คอนเทนเนอร์ได้ประมาณ 400 ตู้ มีรางรถไฟหลัก 4เส้น คือ สําหรับรถไฟ วิ่งเข้า-ออก 2เส้น และสําหรับวางสินค้า 2 เส้น มีพื้นที่โกดังขนาด 27,000 ตร.ม. และมีอุปกรณ์ยก/ชนสินค้าครบครัน ได้แก่ รถโฟล์คลิฟท์ รถยกตู้คอนเทนเนอร์ รถบรรทุกคอนเทนเนอร์ เครื่องเอกซเรย์ตู้คอนเทนเนอร์ ตาชั่งอิเล็กทรอนิกส์ สําหรับชั่งรถบรรทุก และยังติดตั้งกล้องวงจรปิด 88 ตัว
ศูนย์ฯ ให้บริการ 3 ส่วน ได้แก่1) การขนส่งสินค้า 2) โลจิสติกส์ เช่น รับส่งตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งมีอยู่ 3ประเภท ได้แก่ ตู้คอนเทนเนอร์ทั่วไป ตู้ขนของเหลวและสินค้าชนิดผง (ปูนซีเมนต์) และตู้คอนเทนเนอร์แบบห้องเย็น 3) งานอื่น ๆ เช่น ล้างและซ่อมแซมตู้คอนเทนเนอร์ และให้เช่าโกดัง[su_spacer size=”20″]
จุดเด่นของการดําเนินงานขนส่งสินค้าอยู่ที่ระบบข้อมูลการทํางานที่เป็นระบบอัตโนมัติเกือบทั้งหมด ตัวอย่างเช่น เมื่อรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์แล่นเข้าสู่ศูนย์ฯ ผ่านช่องเอกซเรย์ ข้อมูลของตู้คอนเทนเนอร์จะปรากฏบนหน้าจอ เช่น เลขที่ ประเภทสินค้า และความเสียหายของตู้ จากนั้นรถจะถูกปล่อยออกมา โดยคนขับรถจะได้รับใบรายการแสดงข้อมูลการเข้าจอดรถ ในพื้นที่ขนส่งสินค้าที่กําหนดไว้ และเจ้าหน้าที่จะทราบจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีการแบ่งแยกการจอดรถตามประเภทสินค้าและพื้นที่ส่งของ ขณะเดียวกันลูกค้าก็สามารถตรวจสอบข้อมูลการขนส่งสินค้าได้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ โดยกระบวนการตั้งแต่รถบรรทุกเข้ามาจนถึงขนตู้คอนเทนเนอร์ลงจะใช้เวลาประมาณ15 นาที และหากมีสินค้าขนออกไปจะใช้เวลาอีก 15 นาทีเช่นกัน[su_spacer size=”20″]
โครงการสร้างเครือข่ายศูนย์คอนเทนเนอร์รถไฟในประเทศจีนรวม 18 แห่ง เกิดขึ้นตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่11 (2549-2553) ปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว 12 แห่ง ได้แก่ คุนหมิง เซี่ยงไฮ้ ฉงชิ่ง เฉิงตู เจิ้งโจว ต้าเหลียน ชิงต่าว อู่ฮั่น ซีอาน หนิงโป เทียนจิน อุรุมชี อยู่ระหว่างขออนุมัติและก่อสร้าง 6 แห่ง ได้แก่ ฮาร์บิน ปักกิ่ง หลานโจว กว่างโจว เซินเจิ้น เสิ่นหยาง[su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน ศูนย์ฯ มีบริการขนส่งสินค้าตรงภายในประเทศ (ไม่หยุดสถานีระหว่างทาง) จากนครคุนหมิงไปเมืองต่าง ๆ ได้แก่ เฉิงตู หนานหนิง กว่างโจว เซี่ยงไฮ้ เจิ้งโจว จี้หนาน ฮาร์บิน (จากคุนหมิงไปฮาร์บินใช้เวลาประมาณ 40 ชม.) โดยสินค้าขาเข้า และขาออกส่วนใหญ่มาจากหนานหนิง กว่างโจว และเฉิงตู ทั้งนี้ สินค้าขาออกที่สําคัญส่วนใหญ่เป็นสินค้าขึ้นชื่อของยูนนาน ได้แก่ ปุ๋ยเคมี น้ําตาล โลหะนอกกลุ่มเหล็ก (non-ferrous metal) แร่ฟอสฟอรัส และยาสูบ
สําหรับการส่งออกไปต่างประเทศ นอกเหนือจากเส้นทางรถไฟคุนหมิง-เวียดนามแล้ว ยังส่งออกไปตามเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้านานาชาติจีนยุโรป (China-Europe Railway Express) จากคุนหมิง-รอตเทอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์ (เดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 วัน) และคุนหมิง-การาจี ประเทศปากีสถาน โดยในปี2560 ศูนย์ฯ ส่งออกสินค้ายูนนาน ประกอบด้วย ยาสูบ เมล็ดกาแฟ ยางพารา และส่วนประกอบ ของโลหะ ผ่านเส้นทางขนส่งสินค้านานาชาติไปยุโรปและเอเชียกลาง7,272 TEU หรือ 128,250 ตัน[su_spacer size=”20″]
ศูนย์ฯ เป็นชุมทางเชื่อมการขนส่งสินค้าทางรถไฟในรูปแบบการขนส่ง Multimodal transport โดยทางรถไฟ เดินรถจากคุนหมิงเชื่อมสู่เส้นทางขนส่งสินค้านานาชาติไปยุโรป และเส้นทางทะเล ซึ่งส่วนใหญ่ไปออกที่ท่าเรือเซินเจิ้น และบางส่วนผ่านเวียดนามออกสู่ทะเลที่ท่าเรือไฮฟอง (เส้นทางออกทะเลที่ใกล้สุดของมณฑลยูนนาน) และคาดว่าในอีก 4-5 ปีข้างหน้าจะเชื่อมโยงสู่ประเทศไทย หากโครงการเส้นทางรถไฟจีน (มณฑลยูนนาน-ลาว) แล้วเสร็จ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสําหรับการขนส่งของสินค้าไทยไปจีน เอเชียกลาง และยุโรป[su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง