เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2561 ไต้หวันได้เปิดแถลงข่าวประกาศนโยบายพัฒนาศักยภาพด้านการเงินของไต้หวันให้ก้าวสู่มาตรฐานสากล โดยมุ่งในภาคการเงิน 4 ประเภทหลัก ได้แก่ ภาคการธนาคาร ภาคหลักทรัพย์ ภาคประกันภัย และภาคเทคโนโลยีการเงิน โดยมีแผนการและตั้งเป้าหมายในแต่ละประเภท ดังนี้[su_spacer size=”20″]
1.ภาคการธนาคาร ตั้งเป้าหมายไว้ 2 ประการ ได้แก่ การขยายขนาดของสถาบันการเงิน และการพัฒนาให้ไต้หวันเป็นเวทีการบริหารการเงินระหว่างประเทศ โดยจะสนับสนุนให้ภาคการธนาคารร่วมกับภาคอุตสาหกรรมการผลิต ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างเครือข่ายการธนาคารระหว่างประเทศ ตลอดจนเสริมศักยภาพความสามารถในการแข่งขัน[su_spacer size=”20″]
2.ภาคหลักทรัพย์ ตั้งเป้าหมายเพิ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อีกอย่างน้อย 100 บริษัท ภายใน 2 ปี โดยการสนับสนุนให้ควบรวมกิจการ เสริมศักยภาพความสามารถในการแข่งขันเพื่อก้าวสู่ความเป็นสากล[su_spacer size=”20″]
3.ภาคการประกันภัย ตั้งเป้าไว้ 3 ประการ ได้แก่ 1) ผลักดันให้กรมธรรม์ประกันชีวิตมีหลักประกันสำหรับผู้สูงวัยในสัดส่วนอย่างน้อยร้อยละ 60 ขึ้นไป ภายใน 3 ปี 2) เพิ่มยอดผู้เอาประกันขนาดย่อมให้ได้มากกว่า 1 ล้านราย ภายใน 5 ปี และ 3) อัดเม็ดเงินจากภาคการประกันภัยสู่ภาคอุตสาหกรรม 5+2 ซึ่งเป็นนโยบายหลักของไต้หวันให้ได้มากกว่า 150,000 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ภายใน 3 ปี[su_spacer size=”20″]
4.ภาคเทคโนโลยีการเงิน ตั้งเป้าหมายเพิ่มแผนนวัตกรรมการเงินอย่างน้อยปีละ 10 โครงการ ภายใน 3 ปี โดยการจัดกิจกรรมขนาดใหญ่เพื่อดึงดูดความสนใจจากทุนต่างชาติ จัดตั้งองค์กรเพื่อจัดฝึกอบรมบุคคลที่เกี่ยวข้อง[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า ภาคการธนาคารของไต้หวันมีเม็ดเงินมากกว่า 40 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน มูลค่าของบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์รวมสูงถึง 37 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน ภาคการประกันภัย 23 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน รวมกันเกินกว่า100 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน คิดเป็น 5 เท่า ของ GDP และเป็น 50 เท่า ของงบประมาณประจำปีของไต้หวัน จึงต้องพิจารณานำเม็ดเงินเหล่านี้มาก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่[su_spacer size=”20″]
สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย