เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2561 เวลา02.14 น. (เวลาท้องถิ่นในบังกลาเทศ) สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศได้ส่งดาวเทียมBangabandhu Satellite-1 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของประเทศขึ้นสู่วงโคจรจากฐานปล่อยจรวดภายในศูนย์อวกาศ เคนเนดี รัฐฟลอริดา[su_spacer size=”20″]
ดาวเทียม Bangabandhu-1ผลิตโดยบริษัท Thales Alenia Space สัญชาติฝรั่งเศส-อิตาลี โคจร อยู่ที่ระดับความสูง 35,000กม. จากพื้นผิวโลก มีพื้นที่การทํางานครอบคลุมบังกลาเทศ และน่านน้ำในเขตอ่าวเบงกอล ตลอดจนอินเดีย เนปาล ภูฏาน ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย และถูกควบคุมจากสถานีภาคพื้นดินที่เมืองJoydebpur ในอําเภอ Gazipur ใกล้กรุงธากา และในเมือง Betbuniaอําเภอ Rangamati ทางตะวันออกของประเทศ ดาวเทียมฯ จะใช้เวลาช่วงแรกในการติดตั้งระบบก่อนจะเริ่มการให้บริการในเดือนสิงหาคม2561 และจะมีอายุการใช้งาน 15 ปี การส่งดาวเทียม Bangabandhu-1ใช้งบประมาณจํานวน 2.5 หมื่นล้านตากา (ประมาณ 2.95 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งจากจํานวนดังกล่าวเป็นเงินยืมจาก ธนาคารHSBC จํานวน 1.5 หมื่นล้านตากา (1.77 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ)[su_spacer size=”20″]
ชื่อของดาวเทียมมีที่มาจากสมญานามของนาย Sheikh Muibur Rahman (ผู้ก่อตั้งประเทศ ประธานาธิบดีคนแรกของบังกลาเทศ และต่อมาได้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีบังกลาเทศด้วย) ซึ่งแสดงถึงความภาคภูมิใจของรัฐบาลบังกลาเทศที่ได้สนองวิสัยทัศน์ของอดีตประธานาธิบดีในการใช้ระบบโทรคมนาคมและเทคโนโลยีดาวเทียมในการพัฒนาประเทศ ดาวเทียม Bangabandhu-1 มีย่านความถี่ทั้งสิ้น 1,600 เมกะเฮิร์ตซ์ จะสามารถให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม (data service) ในพื้นที่ห่างไกลของบังกลาเทศ และรัฐบาลหวังที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการให้บริการด้านสาธารณสุข การศึกษา การเกษตร การค้า และการบรรเทาสาธารณภัย แก่ชาวบังกลาเทศที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะในบริเวณ haor (ที่ราบน้ำท่วม) ที่รัฐบาลเข้าถึงลําบาก[su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน บังกลาเทศอาศัยดาวเทียมของผู้ประกอบการต่างชาติเพื่อการสื่อสาร และมีค่าธรรมเนียม ประมาณ 14 ล้านตากาต่อปี (ประมาณ 165,000 ดอลลาร์สหรัฐ) การส่งดาวเทียมBangabandhu-1 จะช่วยลดการพึ่งพาดาวเทียมต่างชาติ และเมื่อดาวเทียมฯ เริ่มให้บริการ บังกลาเทศจะเปิดให้บริษัทต่างชาติเข้ามาเช่าช่องสัญญาณ 20 ช่อง จากทั้งหมด 40 ช่อง ซึ่งทางการบังกลาเทศคาดว่าจะสามารถสร้างรายรับได้ถึงร้อยละ 70 ของรายรับจากการให้บริการดาวเทียมทั้งหมด ขณะนี้มีประเทศที่แสดงความสนใจแล้ว ได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์[su_spacer size=”20″]
Bangladesh Telecommunication Regulatory Commission (BTRC) เป็นหน่วยงานที่ รับผิดชอบการจัดส่งดาวเทียม Bangabandhu-1 สู่ชั้นบรรยากาศ และมีหน้าที่กํากับดูแลกิจการเกี่ยวกับการดาวเทียมของบังกลาเทศ และล่าสุด รัฐบาลบังกลาเทศได้ก่อตั้ง Bangladesh Communication Satellite Company Ltd. (BCSCL) เพื่อดูแลรายได้จากธุรกิจดาวเทียม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บังกลาเทศยังขาดกฎหมายที่เหมาะสมเกี่ยวกับการกระทําธุรกิจดาวเทียม[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา