งานมหกรรมซีเชี่ยหุ้ ย ครั้งที่ 22 เป็นงานมหกรรมส่งเสริมความร่ วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่ างจีนตะวันออกและตะวันตกหรือ หรืออีกชื่อหนึ่งคืองานมหกรรม“ ซีเชี่ยหุ้ยซือปั๋วหุ้ย” ถือเป็ นงานมหกรรมประจำปีที่ใหญ่ที่สุ ดของภูมิภาคจีนตะวันตกเฉียงเหนื อ จากการสํารวจพฤติกรรมของผู้บริ โภคภายในงาน มีข้อเสนอแนะในการมองหาลู่ ทางและโอกาสดี ๆ สำหรับผู้ประกอบการไทย ดังนี้[su_spacer size=”20″]
1) การศึกษาแนวทางและกลยุทธ์ทางธุ รกิจอย่างถ่องแท้ แม้ว่าจี นจะเป็นประเทศที่มี โอกาสมากมายสําหรับผู้ ประกอบการไทย แต่เมื่อมีโอกาสก็ย่อมมีอุปสรรค เนื่องด้วยประโยชน์ในยุ คทองของอินเทอร์เน็ต ทําให้ผู้ประกอบการจากทั่ วโลกสามารถเข้าถึงตลาดจีนได้เช่ นกัน ดังนั้น กลยุทธ์ดึงดูดใจผู้บริโภคจึงเป็ นสิ่งสําคัญในการค้า E- commerce การจัดโปรโมชั่นร้านค้ า ควรสอดคล้องกับกระแสนิยม ทิศทางตลาด รสนิยม และอุปนิสัยผู้บริโภคในพื้นที่ นั้น ๆ โดยที่ผู้บริโภคมีความสนใจเลื อกซื้อสินค้าที่แตกต่างกัน ประกอบกับกําลังซื้อที่มีมากขึ้ น ทําให้ในบางครั้งการลดกระหน่ำ ราคาอาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีนัก ผู้ประกอบการไทยจึงควรศึ กษาและมีเทคนิคการดึงดู ดความสนใจผู้บริโภคด้วยวิธีอื่น ๆ โดยอาจเน้นการพัฒนาคุณภาพของสิ นค้า บรรจุภัณฑ์ การสร้างความน่าเชื่อถือ การันตีว่าสินค้าเป็นของแท้ รวมไปถึงการบริการหลังการขาย ถือเป็นสิ่งสําคัญในการแข่งขั นทางธุรกิจยุคปัจจุบัน[su_spacer size=”20″]
2) การสร้างสรรค์สินค้าให้น่ าสนใจและสอดคล้องกับแนวทางผู้ บริโภค วิถีชีวิต (Lifestyle) ที่เปลี่ยนแปลงไป การกลายเป็นสังคมเมือง (Urbanization) จากนโยบายยกระดั บความเป็นเมืองของภาครัฐ การซึมซับวัฒนธรรมตะวันตก การเดินทางท่องเที่ยว การใช้สินค้าแบรนด์เนม และความกล้าทดลองของ แปลกใหม่ เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่ วไปในนครซีอานที่ผู้บริโภคเริ่ มมีกําลังซื้อสูงขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณา สร้างสรรค์สินค้าจากการเชื่ อมโยงความคิดสร้างสรรค์และนวั ตกรรม (Creative & Innovative) ทั้งด้านดีไซน์ และฟังก์ชันการใช้งาน เพื่อสร้างความน่าสนใจและมูลค่ าเพิ่มให้กับสินค้ามากกว่าการจํ าหน่ายสินค้าในรูปแบบเดิม ๆ เนื่องจากปัจจุบัน นักท่องเที่ยวจากนครซีอานนิ ยมเดินทางไปท่องเที่ ยวประเทศไทยมากขึ้น ดังนั้นสินค้าที่สามารถซื้อหาที่ ประเทศไทยได้สะดวก จึงกลายเป็นสิ่งที่ไม่ดึงดูดผู้ บริโภคชาวจีนอีกต่อไป[su_spacer size=”20″]
3) การสร้างเรื่องราวหรือตํานานให้ กับสินค้า การสร้างภาพลักษณ์ให้ กับสินค้าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ ในการประชาสัมพันธ์สินค้า ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจสินค้ าและ ยอมจ่ายแพงกว่าให้กับแบรนด์ที่ ตนเชื่อมั่น นอกจากนี้ การสร้างภาพลักษณ์ในเชิงการผลิ ตแบบจํากัด (Limited Edition / Exclusive for…) ผลิตภัณฑ์ที่ทํ ามาจากธรรมชาติ และปลอดภัยจากสารเคมี ก็จะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้ าได้มากขึ้น[su_spacer size=”20″]
4) การเพิ่มช่องทางการจําหน่ายสิ นค้าออนไลน์ท้องถิ่นปัจจุบัน การจําหน่ายสินค้าผ่านPhysical Store หรืองานมหกรรมแสดงสินค้า เป็นรูปแบบเดิมที่อาจตอบโจทย์ลู กค้าที่นิยมเดินเลือกสินค้าด้ วยตนเองเท่านั้น แต่ด้วยยุคสมัยและความก้าวหน้ าของInternet of Things ร้านค้าออนไลน์จึงเข้ ามามีบทบาทในการจับจ่ายของผู้ บริโภคยุคใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะการค้าปลีกที่กลายมาเป็ นช่องทางการซื้อสินค้าที่ได้รั บความนิยม ซึ่งครอบคลุมไปถึงสินค้านําเข้ าที่มีช่องทางกระจายสินค้าที่ หลากหลาย อาทิ ในนครซีอาน ปัจจุบัน มีแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ท้องถิ่ นที่อํานวยความสะดวกให้กับวิ สาหกิจและผู้ประกอบการ เช่นwww.iesroad.com แพลตฟอร์มC ross Border E-Commerce ที่สําคัญแห่งหนึ่ งของมณฑลส่านซี อยู่ภายใต้การดูแลของเขตคลังสิ นค้าทัณฑ์บนนครซีอานที่ได้รั บการอนุมัติจัดตั้งเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2557 สามารถดําเนินการ นําเข้า-ส่งออก และจําหน่ายสินค้าจากต่ างประเทศได้ www.shanxibaiyue. comแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ ของเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนเมื องหนิงโป มณฑล เจ้อเจียง สาขานครซีอานwww.culigo.com ผู้ ประกอบการไทยสามารถลงทะเบียนหรื อติดต่อผ่านเว็บไซต์เพื่อขอรั บข้อมูลการจําหน่ายสินค้าผ่ านเว็บไซต์ข้างต้นได้ ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจฯ คาดว่า รูปแบบแพลตฟอร์มที่คล้ายคลึงกั นนี้จะมีจํานวนเพิ่มมากขึ้นเรื่ อย ๆ ทั่วทั้งประเทศ เนื่องจากปัจจุบันจีนให้ความสํ าคัญต่อ Cross Border E-commerce[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ การพัฒนาของเทคโนโลยีทําให้ผู้ บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลข่ าวสารได้ง่ายและเร็ว ดังนั้น ผู้บริโภคจึงเกิดพฤติกรรม“ช่ างเลือก” เนื่องจากต้องการเลื อกสรรสิ่งที่ดีที่สุดสําหรั บตนเองในระดับที่สามารถซื้ อหาได้ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของจี นเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริ โภคได้เข้าถึงและรับรู้ข้อมูลข่ าวสาร โปรโมชั่นพิเศษ และช่องทางการชําระเงินที่รองรั บวิถีการใช้จ่ายของชาวจีนที่ โดยมากเป็นกระเป๋าเงินแบบอิเล็ กทรอนิกส์ (Wechat Pay หรือ Alipay) ก็จะสามารถทํ าให้ผู้ประกอบการเข้าถึงตลาดจี นตอนในได้มากยิ่งขึ้นเช่นกัน[su_spacer size=”20″]
5) หมั่นแสวงหาความต้องการของผู้ บริโภค รวมถึงโอกาสทางธุรกิจที่สอดคล้ องกับศักยภาพในพื้นที่ ปัจจุบั นกระแสนิยมไทยในนครซีอานยังคงมี อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สินค้าและการท่องเที่ยวไทยได้รั บความสนใจจากชาวนครซีอานมากขึ้น ทั้งนี้ หากพิจารณานครซีอานรวมไปถึงพื้ นที่ใกล้เคียงโดยรอบแล้ว พบว่าเฉพาะในนครซีอานมี ประชากรที่เป็นมุสลิมมากถึง 60,000 คน (ทั้งมณฑลราว 140,000 คน) ผู้ประกอบการอาจพิจารณาต่อยอดสิ นค้าและบริการที่ครอบคลุมไปถึ งกลุ่มผู้บริโภคมุสลิม อาทิ การท่องเที่ยวเชิงฮาลาล ธุรกิจบริการด้าน การแพทย์หรือโรงแรมที่รองรับกลุ่ มนักท่องเที่ยวมุสลิม หรือกลุ่มอาหารและเครื่องใช้ที่ มีตรามาตรฐานฮาลาลรับรอง หรือสินค้าอาหารทะเลแปรรูป สัตว์น้ำาแปรรูป เนื่องจากมณฑลส่านซีเป็นพื้นที่ Landlocked ไม่มีอาณาเขตติดกั บทะเล ผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณานําสิ นค้ากลุ่มที่ผู้บริโภคมีความต้ องการมาประชาสัมพันธ์ ในงานมหกรรมซีเขี่ยหุ้ยให้มากยิ่ งขึ้น[su_spacer size=”20″]
6) ให้ความสําคัญกับบรรจุภัณฑ์ และข้อมูลสินค้าที่เป็นภาษาจี นเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ ความสดใหม่ของสินค้า ผู้ ประกอบการควรให้ความสําคัญกั บฉลากผลิตภัณฑ์ภาษาจีน เนื่องจากปัจจุบั นเราสามารถพบเห็นตัวอย่างสินค้ าที่แปลหรือใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้ องเป็นจํานวนมาก ดังนั้นผู้ประกอบการควรใส่ใจกั บการแปลชื่อผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ เป็นภาษาท้องถิ่นให้น่าสนใจ เพราะชื่อผลิตภัณฑ์และฉลากสินค้ าถือเป็นด่านแรกที่ จะสามารถแนะนําให้ผู้บริโภคเข้ าใจถึงประเภทและคุณสมบัติของสิ นค้า ในขณะที่บรรจุภัณฑ์ที่ สวยงามจะสามารถดึงดู ดความสนใจจากผู้บริโภค ซึ่งจากการสังเกตในงานมหกรรมซี เชี่ยหุ้ยพบว่า ยังคงมีสินค้าจากประเทศไทยและต่ างประเทศจํานวนไม่น้อยที่ไม่มี ฉลาก สินค้าภาษาจีน รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมในด้ านอื่น ๆ ก็สําคัญไม่แพ้กัน อาทิ การเตรียมข้อมูลสินค้า และคําบรรยายรายละเอียดภาษาจีน การเตรียมเอกสาร สําเนาหนังสือเดินทาง บัญชีธนาคารออนไลน์ (E-Bankingเพื่อเปิดบัญชี Alipa y หรือ Wechat)ใบรั บรองความปลอดภัยทางอาหารและยา และใบประกอบธุรกิจ เป็นต้น และการเตรียมค่าใช้จ่ายในการสมั ครหรือมัดจํา ในกรณีเปิดร้านออนไลน์ บนแพลตฟอร์ม T-mallหรือ Taobao เป็นต้น[su_spacer size=”20″]
7) การวาง Positioning ว่าตนเองต้ องการเป็น Business Partner หรือเป็นผู้ค้ารายย่อย “คนที่มางาน ใช่กลุ่มเป้าหมายของสินค้าคุ ณหรือไม่?” SMEs ไทยจํานวนมากนิยมขายปลีกสิ นค้าในงานมหกรรม ต่าง ๆ มากกว่าการมองหาBusiness Partner ที่จะร่วมลงทุนหรือเป็ นตัวแทนจัดจําหน่ายสินค้าในจีน ความชัดเจนในการจัดกลุ่มเป้ าหมายจึงเป็นสิ่งสําคัญต่อธุรกิ จ เพราะการเข้าร่วมงานมหกรรม และการออกบูธ อาจเป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมื อกระจายสินค้าที่เหมาะสมกั บประเภทธุรกิจบางประเภทเท่านั้น ดังนั้น การวางเป้าหมายของบริษัทให้ชั ดเจนจะทําให้ผู้ประกอบการ ไม่เสียเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเตรี ยมการกับสิ่งที่ไม่เหมาะกั บประเภทธุรกิจของตน[su_spacer size=”20″]
ประเทศจีนถือเป็นตลาดผู้บริ โภคขนาดใหญ่ระดับโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่เค้กชิ้นใหญ่ ชิ้นนี้จะมีผู้ ประกอบการจากหลายประเทศพร้อมเข้ าร่วมตัดแบ่ง มีผู้ประกอบการจํานวนไม่น้อยเข้ ามาสู่สนามการแข่งขันดังกล่ าวแต่ไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ ควร เพราะการทําธุรกิจรูปแบบเดิม ๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางตลาด เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และพฤติกรรมของผู้บริโภค ดังนั้น นอกจากการสร้างสรรค์สินค้าที่มี เอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว การใช้ช่องทางการกระจายสินค้าที่ เหมาะสม การศึกษาแนวโน้มความนิยมสินค้ าและพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ ละมณฑลอย่างถ่องแท้ จะทําให้ผู้ ประกอบการไทยสามารถเพิ่ มโอกาสการทําตลาดสินค้าในพื้นที่ มณฑลส่านซีรวมถึงพื้นที่ ตอนในของประเทศจีนได้มากยิ่งขึ้ น[su_spacer size=”20″]
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจี น ณ นครซีอาน