ในปัจจุบัน ยุโรปกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่จากทงปัจจัยภายนอกและภายใน ถึงแม้ว่า ในปี 2560 ยุโรปจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของ GDP ที่ร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ แต่การดำเนินนโยบายเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนยังขาดเครื่องมือที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพสำหรับรองรับแรงกดดันทางเศรษฐกิจในอนาคต นอกจากนี้ หลายประเทศใน EU มีอัตราว่างงานและสัดส่วนหนี้สินของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศใน EU ยังเป็นสิ่งที่น่ากังวล โดยดัชนีความสามารถในการแข่งขันของ IMD World Competitiveness 2018 ของสหพันธ์ ฯ ซึ่งเป็นกลไลหลักของ euro zone ลดลงจากอันดับ 6 มาอยู่ที่อันดับ 15[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม การเป็น Custom Union จะเป็นทางออกสำคัญเพื่อลดความแตกต่างและทำให้ระบบการเงินของยุโรปมีเสถียรภาพ รวมถึงสามารถป้องกันตนเองจากวิกฤตเศรษฐกิจได้ โดยการปฏิรูปแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การจัดตั้งกองทุน The Single Resolution Fund ร่วมกันในรูปแบบของวงเงินเครดิตจาก European Stability Mechanism (ESM) (2) การพัฒนา ESM ให้เป็นกองทุนการเงินของยุโรป และ(3) การดำเนินการจัดตั้งสหภาพธนาคารของยุโรป (Banking Union) ซึ่งจะเป็นกลไกการสร้างความโปร่งใสให้กับงบดุลธนาคารใน euro zone รวมถึงแก้ไขปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต