นายเล มิงห์ ฮึง ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติเวี ยดนามให้สัมภาษณ์ว่า ธุรกิจ Fintech ของเวียดนามกำลังเผชิญกับภาวะกา รขาดแคลนการระดมทุน กรอบกฎหมายที่ไม่ครอบคลุม และการขาดความร่วมมือจากธนาคาร
[su_spacer size=”20″]
โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ธนาคารแห่งชาติเวียดนามได้เจรจา กับภาคธุรกิจ Fintech หลายครั้งเพื่อขจัดปัญหาและอุปส รรค และช่วยให้ผู้ประกอบการในสาขาดั งกล่าวสามารถเข้าร่วมแข่งขันในต ลาดได้ นอกจากนี้ ธนาคารแห่งชาติเวียดนามยังได้อนุ ญาตให้ธุรกิจ Fintech ให้บริการด้านการชำระเงินแบบ Pilot Basis ตั้งแต่ปี 2551 เพื่อรองรับความต้องการใช้งานภา ยในประเทศ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาธุรกิจดังกล่าวอย่างรวด เร็วได้สร้างความท้าทายต่อสาขาก ารเงินและธนาคารของประเทศ ซึ่งเกิดจากกฎหมายที่จำเป็นเกี่ ยวข้องถูกพัฒนาล่าช้ากว่าการพัฒ นาสินค้าและการให้บริการ นอกจากนี้ ประเด็นด้านทรัพยากรมนุษย์ ความปลอดภัยของระบบ อาชญากรรมทางเทคโนโลยีขั้นสูง และการแบ่งปันข้อมูล ก็นับเป็นความท้าทายของธุรกิจ Fintech ของเวียดนามด้วย [su_spacer size=”20″]
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ธนาคารแห่งชาติเวียดนามจึงได้จั ดตั้งคณะกรรมการการขับเคลื่อนธุ รกิจ Fintech ขึ้นในปี 2560 ซึ่งที่ผ่านมาได้เริ่มจั ดทำรายงานเพื่อประเมินสภาพแวดล้ อมของธุรกิจ Fintech ในเวียดนามเกี่ยวกับระบบ e-Payment ระบบ e-KYC และระบบ peer-to-peer lending เป็นต้น แล้ว ซึ่งถือเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่ การแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมต่อไป[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ นาย Dominic Mellor นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากธนาคารเ พื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asia Development Bank – ADB) กล่าวว่า ADB พร้อมที่จะสนับสนุนธนาคารแห่งชา ติเวียดนามในการกระตุ้นการพัฒนา ธุรกิจ Fintech และการจัดทำกรอบข้อกฎหมายที่จำเ ป็นเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมดั งกล่าว นอกจากนี้ บริษัท Solidiance ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการ ตลาดแห่งเอเชียได้คาดการณ์ว่า ตลาดธุรกิจ Fintech ของเวียดนามจะเติบโตขึ้นจาก 4,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 เป็น 7,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย