สหพันธ์สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของเมียนมา (Union of Myanmar Federation of Chambers of Commerce and Industry – UMFCCI) ได้ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษา Roland Berger (RB) ซึ่งรวบรวมและวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจท้องถิ่นและต่างชาติ จำนวน 500 คน ต่อการประกอบธุรกิจในเมียนมา โดยพบว่า[su_spacer size=”20″]
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติและท้องถิ่นต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในเมียนมาลดลงสะท้อนจากสัดส่วนนักลงทุนท้องถิ่นและต่างชาติที่เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจเมียนมาจะยังคงเติบโตได้ดีในอีก 1 ปีข้างหน้าลดลงจากร้อยละ 73 ในปี 2559 เป็นร้อยละ 49 ในปี 2560 นอกจากนั้น ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในแต่ละสาขาธุรกิจมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะสาขาค้าปลีกและค้าส่ง เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติมองว่าเป็นสาขาธุรกิจที่ครองสัดส่วนโดยนักลงทุนท้องถิ่น[su_spacer size=”20″]
ทางด้านอัตราการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ปัจจุบันก็ยังคงลดลง ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกับความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดย FDI ระหว่างเดือน เม.ย. – ส.ค. ปี 2560 มีมูลค่าเฉลี่ย 739 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ซึ่งน้อยกว่าปี 2559 และ 2558[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตามปัจจัยหลักที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ได้แก่[su_spacer size=”20″]
1. แนวทางการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจไม่ชัดเจน[su_spacer size=”20″]
นักลงทุนมองว่าการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา รวมถึงความพยายามแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันของรัฐบาลเมียนมาส่งผลดีต่อการลงทุนและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี นักลงทุนต้องการรับทราบทิศทางนโยบายด้านเศรษฐกิจ รวมถึงแนวทางการปฏิรูปการค้าและการลงทุนในระยะยาวที่ชัดเจนจากรัฐบาล โดยเฉพาะในสาขาที่สำคัญ อาทิ การเงินการธนาคาร พลังงาน การเกษตร โครงสร้างพื้นฐาน และการท่องเที่ยว[su_spacer size=”20″]
2. กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการลงทุนไม่ชัดเจน[su_spacer size=”20″]
การบังคับใช้กฎหมายการลงทุนส่งผลดีต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสร้างความโปร่งใสมากขึ้น อย่างไรก็ดี การบังคับใช้กฎหมายในเมียนมา ยังคงมีความไม่แน่นอนและคาดการณ์ไม่ได้[su_spacer size=”20″]
3. ศักยภาพของบุคลากรเมียนมา ไม่เพียงพอกับความต้องการของนายจ้าง[su_spacer size=”20″]
ปัจจัยดังกล่าวเป็นปัญหาที่มีมายาวนานและนักลงทุนให้ความสำคัญมาก เนื่องจากชาวเมียนมาจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยเพียงร้อยละ 13 เท่านั้น นอกจากนั้น บุคลากรเมียนมามีอัตราการออกจากงานสูง โดยเฉลี่ยแล้วทำงานในบริษัทไม่ถึง 3 ปี การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการปฏิรูปเศรษฐกิจของเมียนมา[su_spacer size=”20″]
4. แนวโน้มการลงทุนของภาคเอกชน แม้ความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในเมียนมาจะลดลง แต่นักลงทุนยังมองเห็นศักยภาพในระยะยาวและมองอนาคตการลงทุนใน มม. เป็นเชิงบวก โดยนักลงทุนร้อยละ 77 มีแผนจะขยายธุรกิจในเมียนมาต่อไป นอกจากนั้น นักลงทุนต่างชาติยังมีความเชื่อมั่นว่าธุรกิจสาขาสาธารณูปโภคและพลังงานจะเติบโตได้ดีใน 1 ปี ข้างหน้า ในขณะที่นักลงทุนท้องถิ่นมีความเชื่อมั่นในการเติบโตของธุรกิจภาคบริการ[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครรทูต ณ กรุงย่างกุ้ง