จีนเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกยุคปัจจุบัน ด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคงอย่างต่อเนื่องทำให้จำนวนนักลงทุนจีนที่เข้าไปลงทุนยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งส่งผลให้จีนกลายมาเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก[su_spacer size=”20″]
แต่เดิม การลงทุนระหว่างประเทศ การนำเข้าและการส่งออก รวมถึงการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศของจีนมักจะดำเนินไปโดยใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและยูโรเป็นสกุลเงินหลักในการดำเนินธุรกรรมทางการเงิน แต่เมื่อจีนมีปริมาณเม็ดเงินการลงทุนที่สูงมากขึ้น การเคลื่อนย้ายเงินทุนจำนวนมากส่งผลให้นักลงทุนและผู้ประกอบการจีนต่างได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐและเงินยูโร มาเป็นสกุลเงินหยวนซึ่งเป็นสกุลเงินหลักของจีน[su_spacer size=”20″]
รัฐบาลจีนได้มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มาโดยตลอด โดยเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีน (The People’s Bank of China: PBC) ได้ประกาศปรับปรุงนโยบายการทำธุรกรรมเงินหยวนข้ามพรมแดนเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน ของนักลงทุนและผู้ประกอบการจีน รวมถึงรองรับนโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (One Belt One Road) ซึ่งถือเป็นนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของจีน โดยมีสาระสำคัญดังนี้[su_spacer size=”20″]
1.สนับสนุนภาคธุรกิจใช้เงินหยวนในการชำระเงินระหว่างประเทศ (Cross-border settlement) โดยธุรกรรมข้ามพรมแดนใด ๆ ที่ออกกฎหมายอนุญาตให้ชำระด้วยเงินตราต่างประเทศได้ ให้ผู้ประกอบการสามารถชำระด้วยเงินหยวนได้ด้วย[su_spacer size=”20″]
2.ขยายธุรกรรมการชำระเงินด้วยเงินหยวนสำหรับรายการอื่นภายใต้บัญชีเดินสะพัดแก่ปัจเจกบุคคล เพื่อสนับสนุนการโอนเงินกลับเข้ามาในประเทศ และออกนอกประเทศอย่างถูกกฎหมาย อาทิ เงินเดือน ประกันสังคม[su_spacer size=”20″]
3.ขยายธุรกรรมการชำระเงินด้วยเงินหยวนสำหรับการซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซคาร์บอน (Carbon emission trading) โดยนักลงทุนต่างชาติ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสีเขียว[su_spacer size=”20″]
4.อำนวยความสะดวกนักลงทุนต่างชาติในการใช้เงินหยวนเพื่อการลงทุนโดยตรง เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติสามารถโอนผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบเงินหยวนได้ถูกต้องตามกฎหมายออกนอกประเทศได้อย่างเสรี อาทิ กำไร เงินปันผล[su_spacer size=”20″]
5.ลดขั้นตอนเพื่ออำนวยความสะดวกภาคธุรกิจในการระดมเงินทุนสกุลหยวนผ่านตราสารหนี้และ ตราสารทุนในต่างประเทศเพื่อนำเงินทุนกลับเข้ามาใช้ในประเทศ[su_spacer size=”20″]
นโยบายของธนาคารกลางจีนที่ประกาศข้างต้นจะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศสามารถลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการค้าการลงทุนยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ยังช่วยผลักดันสกุลเงินหยวนสู่สากล และเร่งให้มีการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจมากขึ้น นอกจากนี้ การใช้เงินหยวนในการชำระสินค้าระหว่างประเทศยังช่วยลดขั้นตอนการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย ซึ่งคาดว่าผู้ส่งออกจะสามารถลดต้นทุนได้ถึงร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 5[su_spacer size=”20″]
เป็นที่คาดการณ์กันว่า มาตรการดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลดีกับจีนในหลายด้าน โดยจะช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางการค้าและการลงทุน อีกทั้งจะเป็นการเร่งพัฒนากระบวนการผลักดันให้เงินหยวนมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน มีการชำระเงินเพื่อการค้าระหว่างประเทศด้วยสกุลเงินหยวน (RMB Cross border Trade Settlement) คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 25 ของมุลค่าการค้าต่างประเทศของจีนและเงินหยวนได้กลายเป็นสกุลเงินสำหรับการชำระเงินเพื่อการค้าระหว่างประเทศ (Settlement currency) อันดับสองของโลกรองจากเงินดอลลาร์สหรัฐ และใช้สำหรับการชำระเงินระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ 7 ของโลก (Payment currency)[su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน ความท้าทายในการผลักดันเงินหยวนสู่สากลคือ จีนจะรักษาเสถียรภาพเงินหยวนในระยะยาวได้อย่างไร ซึ่งยังคงเป็นการทดสอบความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจมหภาคของรัฐบาลจีนในระยะยาว การที่เศรษฐกิจของจีนเติบโตอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง จะทำให้สกุลเงินหยวนได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับการอำนวยความสะดวกทางการค้าการลงทุนทั่วโลก แต่ยังเป็นการเพิ่มพูนพลังในการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจของจีนอีกด้วย[su_spacer size=”20″]
ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
สถานเอกอัครราขทูต ณ กรุงปักกิ่ง