เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2561 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2018/555concerning a coordinated multiannual control programme of the Union for 2019, 2020 and2021 to ensure compliance with maximum residue levels of pesticides and to assess the consumer exposure to pesticide residues in and on food of plant and animal origin ใน EU Official Journal L 92/6 โดยสำนักงานที่ปรึกษาเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ขอสรุปสาระสำคัญของประกาศดังกล่าว ดังนี้[su_spacer size=”20″]
1. คณะกรรมาธิการยุโรปออกมาตรการให้มีการสุ่มตรวจหาสารปราบศัตรูพืชตกค้างในสินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรป เพื่อประเมินความเสี่ยงที่มีต่อผู้บริโภค ครอบคลุมระหว่างปี 2561– 2563 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
1.1 หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารประจำสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) ได้ตีพิมพ์รายงานผลการสุ่มตรวจหาสารปราบศัตรูพืชในสินค้าอาหาร จากการสุ่มตรวจตัวอย่าง 683 รายการจากสินค้าอาหารที่แตกต่างกัน 32 ชนิด โดยพบว่า อัตราการตรวจพบสินค้าอาหารที่มีสารปราบศัตรูพืชตกค้างเกินกว่าค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Levels : MRLs) อยู่ที่ระดับมากกว่าร้อยละ 1 โดยมีอัตราความคลาดเคลื่อนที่ร้อยละ 0.75 ดังนั้น จึงเห็นควรให้กำหนดแผนสุ่มตรวจในครั้งนี้เป็นเวลาติดต่อกัน 3 ปี โดยกำหนดชนิดของสินค้าและสารปราบศัตรูพืชที่ให้สุ่มตรวจ รวมถึงจัดสรรปริมาณการสุ่มตรวจระหว่างประเทศสมาชิก EU โดยให้ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรของประเทศนั้นๆ โดยกำหนดการสุ่มตรวจขั้นต่ำ ว่าต้องสุ่มตรวจอย่างน้อย 12 ตัวอย่างต่อ 1 สินค้าต่อปี[su_spacer size=”20″]
1.2 EU ได้จัดทำคู่มือเพื่อให้ประเทศสมาชิก EU ใช้ประกอบการสุ่มตรวจในการดังกล่าว คือ“Analytical quality control and validation procedures for pesticide residues analysis in food and feed” อันปรากฏตามเว็บไซต์ ดังนี้
https://ec.europa.eu/food/sites/food/files/plant/docs/pesticides_mrl_guidelines_wrkdoc_2017-11813.pdf [su_spacer size=”20″]
1.3 ทั้งนี้ หากประเทศสมาชิก EU ตรวจพบสารปราบศัตรูพืชที่มีสารออกฤทธิ์ตัวอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ หรือตรวจพบเมทาบอไลท์ การเสื่อมสภาพ หรือปฏิกิริยาใดๆ ในสินค้าอาหารที่ตรวจพบ ก็ต้องแจ้งให้คณะกรรมาธิการยุโรปทราบด้วย ซึ่ง EFSA ได้กำหนดแนวทางการนำเสนอข้อมูลที่สุ่มตรวจได้ตามStandard Sample Description (SSD) และกำหนดวิธีและกระบวนการสุ่มตรวจสินค้าอาหารที่เกี่ยวข้องตาม Directive 2002/63/ECโดยอิงใช้ข้อแนะนำจาก Codex Alimentarius ร่วมด้วย [su_spacer size=”20″]
1.4 รวมถึงขอให้ประเทศสมาชิก EU ให้ความสำคัญกับการสุ่มตรวจสินค้าอาหารกลุ่มสำหรับเด็ก ทารกและเด็กเล็กว่า ค่าอนุโลมสูงสุดสำหรับสินค้ากลุ่มนี้จะต่ำกว่าอาหารปกติ ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 10 ของ Directive 2006/141/ECและมาตรา 7 ของ Directive2006/125/EC [su_spacer size=”20″]
1.5 ประเทศสมาชิก EUจะต้องส่งผลการสุ่มตรวจสินค้าอาหารประจำปีภายใต้มาตรการดังกล่าวนี้ อย่างช้าสุดภายในวันที่ 31 สิงหาคมของปีถัดไป และถือเป็นการยกเลิก Implementing Regulation (EU) 2017/660 อย่างไรก็ดี ให้ยังคงการสุ่มตรวจในปี 2561 ไว้เช่นเดิมจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2562 [su_spacer size=”20″]
สินค้าที่ต้องสุ่มตรวจ แยกเป็นรายปี มีดังนี้[su_spacer size=”20″]
ปี 2561: แอปเปิ้ล สตรอว์เบอร์รี พีช (รวมถึงเนคทารีนและผลไม้พันธุ์ใกล้เคียง) ไวน์แดงหรือไวน์ขาว ผักสลัด หัวกะหล่ำ มะเขือเทศ ผักโขม ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ นมวัว ไขมันหมู [su_spacer size=”20″]
ปี 2562: ส้ม แพร์ กีวี ดอกกะหล่ำ หัวหอม แครอท มันฝรั่ง ถั่วแห้ง ข้าวไรย์ ข้าวกล้อง ไขมันสัตว์ปีก ไขมันแกะ [su_spacer size=”20″]
ปี 2563: องุ่นสำหรับรับประทาน กล้วย เกรปฟรุ้ต (ผลไม้ตระกูลส้ม) มะเขือ บรอกโคลี เมล่อน เห็ดราเพาะ พริกหวาน/พริกหยวก ข้าวสาลี น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ไขมันวัว ไข่ไก่ [su_spacer size=”20″]
2. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป สำหรับรายละเอียดที่เกี่ยวข้องสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้ http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32018R0555&from=EN [su_spacer size=”20″]
3. ที่ผ่านมา จากสถิติพืชที่ถูกตรวจพบว่ามีสารปราบศัตรูพืชเกินกว่าค่าอนุโลมมากที่สุดในสหภาพยุโรป คือ สตรอว์เบอร์รี แอปเปิ้ล ผักกาด ข้าวโอ๊ต ถั่วลันเตา และพีช [su_spacer size=”20″]
Thaieurope.net