หอการค้ากรุงลิมา (Lima Chamber of Commerce – CCL) ได้จัดการสัมมนาด้านเศรษฐกิจเปรู “Twelfth International Forum on Economics – Quo Vadis Peru” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของเปรูในปัจจุบัน รวมถึง ประเมินแนวโน้มทิศทางในอนาคตของเศรษฐกิจเปรู[su_spacer size=”20″]
การประกาศนโยบายทั่วไปของรัฐบาลเปรูทั้งในเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักธุรกิจและนักลงทุน ได้สร้างความคาดหวังที่สูงขึ้นให้แก่นักธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจของเปรูระหว่างปี 2557-2556 ที่มีค่าเฉลี่ยเพียงร้อยละ 3 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการเติบโต ของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาในช่วงเวลาเดียวกันที่เติบโตในระดับร้อยละ 3.4 และ 4.4 ตามลําดับ[su_spacer size=”20″]
ปัญหาหลักของเศรษฐกิจเปรู เช่น ปัญหาเศรษฐกิจนอกระบบ (economic informality) ที่มีสัดส่วนร้อยละ 60.9 แรงงานนอกระบบ (labour informality) ที่มีสัดส่วนร้อยละ 72 การทํางานต่ำระดับ (underemployment) ร้อยละ 47.3 และความยากจนร้อยละ 20.7 ทั้งนี้ รัฐบาลเปรูต้องให้ความสําคัญกับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อม (Micro and Small Enterprises – MSEs) ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 22 ของ GDP ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีจํานวนสูงถึงร้อยละ 99 ของบริษัททั้งหมดในเปรู และมีอัตราการจ้างงานแรงงานในสัดส่วนร้อยละ 80 ของแรงงานทั้งหมด อย่างไรก็ดี ประมาณร้อยละ 82 ของ MSEs เปรูในปัจจุบันยังคงเป็นธุรกิจนอกระบบ[su_spacer size=”20″]
เปรูจําเป็นที่จะต้องมีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างน้อยร้อยละ 3.4 เพื่อป้องกันมิให้อัตราความยากจนในประเทศเพิ่มสูงขึ้น และอย่างน้อยร้อยละ 4 เพื่อเพิ่มอัตราการจ้างงานในประเทศ ในขณะที่รัฐบาลเปรูในปัจจุบันตั้งเป้าทางเศรษฐกิจให้เติบโตในอัตราร้อยละ 4 แต่หากเปรูประสงค์ที่จะลดอัตราความยากจนในประเทศรวมถึงการเพิ่มอัตราการจ้างงานอย่างมีนัยยะแล้ว เศรษฐกิจเปรูต้องเติบโตให้ได้ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6 จึงจะสามารถก้าวถึงสถานะการเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้ภายในปี 2573[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา