จีนออกประกาศปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2561 กระทรวงการคลังจีนได้ออกประกาศฉบับที่ 32 ปี 2561 เกี่ยวกับการ ปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และประกาศฉบับที่ 33 ปี 2561 เกี่ยวกับการปรับฐานรายรับของผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นวิสาหกิจขนาดเล็ก ซึ่งประกาศทั้ง 2 ฉบับ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้[su_spacer size=”20″]
1.ปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากเดิมที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 17 และร้อยละ 11 ลงเหลือ ร้อยละ 16 และร้อยละ 10 ตามลําดับ (สําหรับสาขาธุรกิจที่จัดเก็บในอัตราร้อยละ 6 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดย(1) อุตสาหกรรมภาคการผลิตต่าง ๆ (รวมสินค้านําเข้า) ที่เดิมถูกจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 17 จะถูกจัดเก็บลดลงเหลือร้อยละ 16 (2) อุตสาหกรรมการคมนาคมขนส่ง การก่อสร้าง การบริการโทรคมนาคม พื้นฐาน และสินค้าเกษตร เป็นต้น ที่เดิมถูกจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 11 จะถูกจัดเก็บลดลงเหลือร้อยละ 10 ซึ่งกระทรวงการคลังจีนคาดว่าจะสามารถลดภาระภาษีลงได้ประมาณ 240,000 ล้านหยวนต่อปี[su_spacer size=”20″]
2.ปรับเพิ่มฐานรายรับสําหรับผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นวิสาหกิจขนาดเล็ก (Small-scale taxpayer) จากที่มียอดขาย 500,000 หยวนต่อปี สําหรับวิสาหกิจประเภทอุตสาหกรรมการผลิตขนาดเล็ก และ 800,000 หยวนต่อปี สําหรับวิสาหกิจประเภทพาณิชยกรรมขนาดเล็ก เพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 5,000,000 หยวนต่อปีสําหรับวิสาหกิจทั้ง 2 ประเภท ซึ่งวิสาหกิจที่มีรายได้ไม่เกินเกณฑ์ที่กําหนดสามารถเลือกลงทะเบียนเป็นกลุ่มผู้เสียภาษีที่เป็นวิสาหกิจขนาดเล็กได้ ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 3 ของยอดขาย[su_spacer size=”20″]
3.คืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชําระไว้เกิน (กรณีที่ภาษีขายน้อยกว่าภาษีซื้อในแต่ละช่วงเวลา) แก่บางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูง วิจัยและพัฒนา ธุรกิจบริการสมัยใหม่ และธุรกิจโครงข่ายไฟฟ้าที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กําหนด ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องและเงินสดหมุนเวียนของธุรกิจ[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ที่ผ่านมาจีนมีการปฏิรูปการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแทนการจัดเก็บภาษีธุรกิจ รวมถึงการปรับอัตราภาษี ดังนี้ (1) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2555 ได้ทดลองนําร่องจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแทนภาษีธุรกิจในธุรกิจบริการด้านการขนส่งและบริการสมัยใหม่บางส่วน โดยเริ่มจากมหานครเซี่ยงไฮ้และขยายครอบคลุมทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2556 (2) ได้ขยายการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม แทนภาษีธุรกิจในธุรกิจการขนส่งทางรถไฟและการไปรษณีย์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2557 และในธุรกิจโทรคมนาคมเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2557 (3) ได้ขยายการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแทนภาษีธุรกิจไปยังธุรกิจ ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ การเงิน และบริการทั่วไป เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2559 ซึ่งทําให้มีการจัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มครอบคลุมธุรกิจทุกประเภท และ (4) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2560 ได้ปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิม 4 อัตรา ได้แก่ ร้อยละ 17, 13, 11 และ 6 ลดลงเหลือเพียง 3 อัตรา ได้แก่ ร้อยละ 17, 11 และ 6 โดยสินค้าที่ถูกจัดเก็บในอัตราร้อยละ 13 ถูกปรับลดลงเหลือมาอยู่ที่ร้อยละ 11[su_spacer size=”20″]
การปฏิรูประบบภาษีดังกล่าวส่งผลให้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มครอบคลุมทั้งภาคสินค้าและบริการ ส่งผลให้ระบบภาษีมีความเป็นหนึ่งเดียว ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษี ขยายฐานภาษี และช่วยกระตุ้นและยกระดับอุตสาหกรรม เป็นต้น อีกทั้งเป็นการลดภาระภาษีของธุรกิจและประชาชน โดยนับแต่หันมาจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มแทนการจัดเก็บภาษีธุรกิจ จนถึงสิ้นปี 2560 สามารถลดภาระภาษีลงได้ถึง 2,100,000 ล้านหยวน [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง