เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2561 เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ ได้เข้าเยี่ยมคารวะนาย TadeuSz Koscinski รมช. กระทรวง Entrepreneurship and Technology ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ โดยมีนาย Lukasz Porazynski อธิบดีกรม International Cooperation และนาง Anna Saviak, Head of Non-European Unit กระทรวง Entrepreneurship and Technology ฝ่ายโปแลนด์ และนางกรกซ ริมขลา เลขานุการเอก เข้าร่วมด้วย ซึ่งสรุปสาระสําคัญได้ ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
โปแลนด์มีเป้าหมายมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมส่งเสริมให้มีธุรกิจใหม่ ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น สนับสนุนการลงทุนและดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ และพัฒนา local supply chain ให้เข้มแข็ง โดยมีแผนงานสําคัญ 5 ด้านที่รัฐบาลมุ่งดําเนินการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประกอบด้วย [su_spacer size=”20″]
1) การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบการบริหารจัดการเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับกลุ่ม ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เช่น ในการจัดตั้งบริษัท การหาแหล่งเงินทุนสนับสนุน และการเข้าสู่ตลาด [su_spacer size=”20″]
2) การปรับลดอัตราภาษีและปรับเปลี่ยนมาตรการทางภาษีแก่ผู้ประกอบการธุรกิจใหม่ขนาดย่อม และการงดเว้นการจ่ายเงินเข้าประกันสังคมให้กับกลุ่มธุรกิจ Start-up ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ [su_spacer size=”20″]
3) การเพิ่มอัตราค่าจ้างแรงงาน สนับสนุนการสร้างงานที่ใช้แรงงานคุณภาพ และการดูแลคุ้มครอง สวัสดิการและสุขภาพแรงงาน การพัฒนาฝีมือและคุณภาพของแรงงานในประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวของการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม เช่น การส่งเสริมการเรียนสายอาชีพและอาชีวศึกษา [su_spacer size=”20″]
4) การกระตุ้นและขยายตลาดการส่งออก ในปัจจุบันมีประมาณ 70,000 บริษัท ที่ดําเนินธุรกิจ ส่งออก โดยร้อยละ 75 เป็นบริษัทที่เป็นการลงทุนของต่างชาติและกว่าร้อยละ 80 ส่งออกไปในภูมิภาคยุโรป ดังนั้น จึงยังมีโอกาสอีกมากและรัฐบาลต้องการขยายการส่งออกไปสู่ตลาดใหม่ ๆ เช่น ในแอฟริกาและเอเชีย [su_spacer size=”20″]
5) การส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติในโปแลนด์ โดยการกําหนดให้พื้นที่ทั่วทั้งโปแลนด์เป็นเขต เศรษฐกิจพิเศษ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติด้วยมาตรการยกเว้นภาษี สิทธิประโยชน์และการสนับสนุนเงินลงทุนจากรัฐบาล ซึ่งปัจจุบัน ยังมีความแตกต่างของระดับการพัฒนาพื้นที่ด้านตะวันตก และ ตะวันออก โดยฝั่งตะวันออกยังมีตัวเลขการว่างงานที่ค่อนข้างสูงกว่าร้อยละ 10 [su_spacer size=”20″]
เอกอัครราชทูตฯ กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างไทยกับโปแลนด์ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศ ในปี 2560 เกือบ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2559 กว่าร้อยละ 20 รวมถึงมีนักท่องเที่ยวโปแลนด์ไปเมืองไทยกว่า 100,000 คนในปีที่ผ่านมา ในด้านการลงทุน ภาคเอกชนไทยเห็นถึงศักยภาพของโปแลนด์ในการเป็นศูนย์กลางและประตูสู่ภูมิภาคยุโรปมากขึ้น ปัจจุบัน มีบริษัทไทยเข้ามาดําเนินธุรกิจในโปแลนด์แล้วจํานวนหนึ่ง ได้แก่ Thai Union (King Oscar) Lucky Union (Surini) และ Indorama (พลาสติก PET) และล่าสุดบริษัท CPF ได้เข้าบริหารกิจการของบริษัท Superdrob ในอุตสาหกรรมเนื้อไก่ [su_spacer size=”20″]
ดังนั้น เอกอัครราชทูตฯ จึงประสงค์จะให้ภาคเอกชนโปแลนด์เห็นไทยซึ่งมีทําเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นเดียวกัน ในการเป็นประตูเชื่อมโยงสู่ตลาดในอาเซียนกว่า 650 ล้านคน กอปรกับนโยบาย GO ASEAN ของโปแลนด์และแผนที่จะเปิดสำนักงานการค้าที่กรุงเทพฯ ในไม่ช้า จึงน่าจะเป็นจังหวะเวลาที่ดีที่เกื้อกูลต่อการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ในสินค้ารายสาขาประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยรัฐบาลอยู่ระหว่างดําเนินการจัดตั้ง Rubber City ที่ จ.สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่ทําสวนยางในภาคใต้ของประเทศ เพื่อส่งเสริมให้เป็น bulb ของผลิตภัณฑ์ยาง ปัจจุบันมีบริษัท Mercator Medical ของโปแลนด์ซึ่งเป็นผู้ผลิตถุงมือยางการแพทย์ตั้งโรงงานอยู่ในจังหวัดดังกล่าวด้วย จึงประสงค์เชิญชวนบริษัทจากโปแลนด์เข้าไปลงทุนเพิ่มขึ้นด้วย [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ