ในอดีต เมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว เศรษฐกิจของปีนังเคยพึ่งพิงภาคการผลิตเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนสูงกว่า 50% ของ GDP อย่างไรก็ดี ในระยะยหลัง เมื่อการท่องเที่ยวปีนังเริ่มเป็นที่รู้จักของทั้งชาวมาเลเซีย ชาวไทย และชาวต่างชาติอื่น ๆ เศรษฐกิจของปีนังจึงเริ่มหันไปพึ่งพาการท่องเที่ยว หรือภาคบริการอื่น ๆ มากขึ้น แม้ว่าในระยะหลัง ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ปีนังจะมีการลงทุนการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E) เพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สัดส่วนของ GDP ในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมาใกล้เคียงกับภาคบริการ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 85,000 ล้านริงกิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากปี 2559 แต่ปีนังก็ยังคงพึ่งพิงภาคบริการอยู่สูง รวมทั้งการขนส่งของท่าเรือปีนังด้วย[su_spacer size=”20″]
แผนพัฒนา 5 ปีของบริษัทท่าเรือปีนังระบุว่า ได้ตั้งงบประมาณ 320 ล้านริงกิตสำหรับใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ และขยายพื้นที่โดยการถมทะเล ซึ่งแผนการขยายและพัฒนาท่าเรือนี้มีขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของการส่งออกสินค้าจากพื้นที่ภาคเหนือของมาเลเซียและภาคใต้ของไทย ซึ่งมีการผลิตสินค้าส่งออกเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่าจะมีการขยายเวลาเปิดด่านพรมแดนไทย-มาเลเซียที่บูกิตกายูฮิตัมเป็น 24 ชั่วโมง[su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน ธุรกิจการให้บริการคอนเทนเนอร์คิดเป็น 70% ของธุรกิจทั้งหมดของท่าเรือปีนัง และในจำนวนนี้ 38% เป็นคอนเทนเนอร์จากไทย โดยในส่วนของภาคใต้ของไทยนั้น ในระยะสองสามปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มว่าจะมีการลงทุนผลิตสินค้าโดยบริษัทใหญ่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลไทยได้ออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการจัดตั้งโครงการนิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ในเขตจังหวัดสงขลา ซึ่งทั้งหมดนี้ประมาณการได้ว่าจะส่งผลให้ปริมาณคอนเทนเนอร์จากไทยเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 6-7%[su_spacer size=”20″]
อนึ่ง ท่าเรือปีนังเป็นท่าเรือที่เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย เคยบริหารโดยรัฐวิสาหกิจ แต่ในปี 2557 ได้แปรรูปเป็นบริษัทเอกชนภายใต้บริษัท MMC Port Holding ซึ่งเป็นกลุ่มของบริษัท MMC Corp ในปัจจุบัน บริษัทท่าเรือปีนังให้บริการขนถ่ายสินค้าในรูปแบบต่าง ๆ แก่ลูกค้าเกือบ 30 ราย ทั้งเรือเดินสมุทรและบริษัทตัวแทน อีกทั้งยังให้บริการแก่เรือสำราญขนาดใหญ่ทีแวะเทียบท่าด้วย[su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองปีนัง