ปี 2560 สหรัฐอเมริกานำเข้ากุ้งปริมาณ 664,000 เมตริกตัน มูลค่า 6.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 10 และร้อยละ 12 ตามลำดับ โดยอินเดียเป็นแหล่งที่สหรัฐฯ นำเข้ากุ้งมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 39 ในเชิงปริมาณ และร้อยละ 44.67 ในเชิงมูลค่า [su_spacer size=”20″]
ในการประชุม Global Seafood Market Conference ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญด้านกุ้งของ The National Fisheries Institutes ระบุว่า การขยายตัวของผลผลิตกุ้งอินเดียไม่ได้มาจากพื้นที่การผลิตดั้งเดิม แต่เป็นผลมาจากการกระจายพื้นที่การผลิตใหม่ ๆ ส่งผลให้เกิดข้อกังวลเกี่ยวกับเรื่องของความยั่งยืนของการเติบโตของการผลิตกุ้งในอินเดีย อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมประชุมหลายรายให้ความเห็นในแง่บวกว่า อินเดียเป็นประเทศที่มีพื้นที่จำนวนมาก และมีแม่น้ำหลายสาย อินเดียจึงน่าจะรับมือกับการขยายพื้นที่การเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ใหม่ ๆ ได้[su_spacer size=”20″]
ในปี 2560 แหล่งอุปทานกุ้งสำคัญอันดับสองของสหรัฐอเมริกาคือ อินโดนีเซีย จากการนำเข้า 118,033 เมตริกตันเข้าสหรัฐฯ มูลค่า 1.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 18 ของจำนวนกุ้งที่สหรัฐอเมริกานำเข้าทั้งหมด แหล่งอุปทานอันดับที่สามคือจีน ปริมาณนำเข้ามาสหรัฐอเมริกา 46,009 เมตริกตัน มูลค่า 334.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ไทยและเวียดนามส่งออกกุ้งมายังสหรัฐอเมริกาลดลง ในกรณีของไทยเป็นผลมาจากการระบาดของโรค EMS ทำให้ปริมาณส่งเข้าสหรัฐอเมริกาลดลงเหลือ 74,552 เมตริกตัน มูลค่า 811.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.13 และร้อยละ 1.69 ตามลำดับ [su_spacer size=”20″]
สกญ. ณ นครลอสแอนเจลิส / สคต. ณ นครลอสแอนเจลิส