ในปี 2559 ต่อเนื่องปี 2560 ที่ผ่านมา บังกลาเทศยังคงรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัว โดยเติบโตร้อยละ 7.28 และภาคการผลิตและภาคบริการเป็นตัวขับเคลื่อน แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคหลายตัวไม่ค่อยดีนัก เช่น การส่งออก ดุลการค้า การส่งกลับเงินรายได้จากชาวบังกลาเทศที่ทำงานในต่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ภาคการเงินของประเทศประสบปัญหากับปัญหาท้าทายหลายอย่าง โดยเฉพาะปัญหาธรรมาภิบาลในธนาคารหลายแห่ง ทำให้ตัวเลข NPLs ในระบบสุงขึ้นเป็นประวัติการณ์ มีการฉ้อฉลทางการเงิน และการขาดสภาพคล่อง ซึ่งอาจกระทบต่อระบบเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางบังกลาเทศได้เข้าไปแก้ปัญหาทันที[su_spacer size=”20″]
ในปี 2560 ตัวเลข GDP ของบังกลาเทศ เติบโตร้อยละ 7.28 จากร้อยละ 7.11 ในปี 2559 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.17) โดยมีรายได้ประชาชาติต่อหัวเพิ่มขึ้นเป็น 1,610 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1,465 ดอลลาร์สหรัฐในปีก่อนหน้า ด้านอัตราเงินเฟ้อของบังกลาเทศ ในปี 2560 รัฐบาลสามารถรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อได้ที่ร้อยละ 5.5 แม้ว่าสินค้าอาหารหลายรายการมีการปรับราคาสูงขึ้นหลังจากเกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศเมื่อปลายเดือนมี.ค. และมิ.ย. 2560 สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัด บังกลาเทศขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 1,480 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่เคยเกินดุล 4,260 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2559[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ทางด้านภาพรวมการค้าระหว่างประเทศ บังกลาเทศขาดดุลการค้า 9,470 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.62 ภาคการส่งออกโตเพียงร้อยละ 1.69 ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ร้อยละ 8 และทำรายได้ 34,835 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (34,257 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2559) สินค้าที่ทำรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากได้แก่ ชา สินค้าหัตถกรรม เครื่องมือทางวิศวกรรม ผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ และรองเท้า ตามลำดับ ในขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศมาโดยตลอดกลับโตเพียงร้อยละ 1.38 ทั้งนี้ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ (16.78%) เยอรมนี (15.72%) สหราชอาณาจักร (10.25%) และฝรั่งเศส (5.43%) ตามลำดับ[su_spacer size=”20″]
การนำเข้ามีมูลค่า 47,005 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากปี 2559 (43,122 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เส้นด้าย ปุ๋ย ข้าวสาลี และข้าว น้ำมันประกอบอาหาร ตามลำดับ แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ จีน (28.28%) อินเดีย (13.48%) และสิงคโปร์ (4.50%) ตามลำดับ ด้านภาคการลงทุนของบังกลาเทศ ในปี 2560 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของ GDP เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 29 ในปี 2559 โดยได้รับแรงหนุนจากการลงทุนภาครัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.4 จากร้อยละ 6.4 ในปีก่อนหน้า ทั้งนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการมีความคืบหน้า แม้ว่าจะเป็นไปอย่างช้า ๆ อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนยังคงชะงักงันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 23 ตั้งแต่ปีก่อนหน้า[su_spacer size=”20″]
สำหรับในปี 2561 ธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจบังกลาเทศจะเติบโตร้อยละ 6.4 โดยมีตัวขับเคลื่อน ได้แก่ อุปสงค์ภายในประเทศที่เข้มแข็ง การลงทุนที่น่าจะเพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยต่ำและโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้น การส่งออก และการส่งกลับเงินรายได้ซึ่งมีสัญญาณกระเตื้องขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคธุรกิจ แวดวงวิชาการ และสื่อมวลชนบังกลาเทศมีความกังวลว่า ความไม่แน่นอนและความวุ่นวายทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นในช่วงก่อนเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจะมีขึ้นปลายเดือนธ.ค. 2561 อาจส่งผลกระทบทางลงต่อเศราฐกิจ ดังเช่นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งก่อน ๆ นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากการต้องแบกรับภาระในการให้ที่พักพิงแก่ผู้พลัดถิ่นชาวโรฮีนจากว่า 1 ล้านคน[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา