สถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติไต้หวัน (The National Health Research Institute / NHRI) ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงนาโนเซลล์ (Nano-scale Substance) ที่สามารถซ่อมแซมเส้นประสาทในสมองที่เสียหาย ทดแทนวิธีการแบบเดิมที่ใช้ Stem Cells ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นเซลส์มะเร็งได้ นับเป็นการปูทางสู่การพัฒนาการรักษาระบบประสาทครั้งสำคัญของโลก[su_spacer size=”20″]
ทีมนักวิจัยซึ่งนำโดย นางสาว Li Hua-jung ผู้ช่วยด้านการวิจัยในหน่วยงาน Institute of Cellular and System Medicine ของ NHRI ให้ข้อมูลว่า ทีมวิจัยได้สกัด Exosome ซึ่งมีสัญญาณของการฟื้นตัวจาก Stem Cell ที่อยู่ในไขมันตามร่างกายและไขกระดูก โดย Exosome เป็นสสารที่ทำให้เกิดการสื่อสารกันระหว่างเซลล์ ซึ่งทีมนักวิจัยของได้ใช้เวลา 5 ปี ในการพัฒนาให้สามารถฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อทำหน้าที่เสมือนชุดปฐมพยาบาล เพื่อช่วยซ่อมแซมเส้นประสาทที่เสียหาย ทั้งนี้ การรักษาด้วยวิธีดังกล่าว แตกต่างจากการรักษาด้วย Stem Cell แบบเดิม เนื่องจาก Exosome ไม่ใช่เซลล์ที่มีชีวิต จึงไม่สามารถพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งได้ หลังจากฉีดเข้าไปในส่วนที่เสียหายของร่างกายที่ Exosome จะต้องเข้าไปซ่อมแซม[su_spacer size=”20″]
ไต้หวันเป็นที่แรกที่สามารถพัฒนาและสร้าง Restorative exosomes ได้อย่างประสบความสำเร็จ จนเทคนิคการเพาะเลี้ยงดังกล่าวได้รับการจดสิทธิบัตรแล้วในไต้หวัน และอยู่ระหว่างการขอนำไปใช้ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ซึ่งนางสาว Hua-jung กล่าวว่า ผลการวิจัยอาจสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการรักษาโรคเกี่ยวกับความเสื่อม (Degenerative Diseases) หรือความเสียหายของอวัยวะต่าง ๆ อาทิ การบาดเจ็บของสมอง ไขกระดูก หรือโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย[su_spacer size=”20″]
สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย