Eurostat ประมาณการณ์ว่า เศรษฐกิจของบัลแกเรียในปี 2560 เติบโตอยู่ที่ร้อยละ 3.9 เป็นผลมาจากปัจจัยหนุนที่สำคัญ คือ อุปสงค์ในประเทศและการค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และการฟื้นตัวของภาคการลงทุนภายในประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาล เช่น การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียงร้อยละ 10 และนโยบายให้นักลงทุนต่างชาตินอกกลุ่มประเทศ EU มีสิทธิ์พำนักอาศัยถาวรในประเทศได้อย่างไม่มีกำหนด หากนำเงินมาลงทุนในประเทศเกิน 1,000,000 เลวา (ประมาณ 511,292 ยูโร) นอกจากนี้ การที่รัฐบาลบัลแกเรียได้รับเงินสนับสนุนจาก EU กว่า 9 พันล้านยูโร จนถึงปี 2563 ยังมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย[su_spacer size=”20″]
สำหรับในปี 2561 Eurostat ยังคงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของบัลแกเรียจะเติบโตต่อเนื่องที่ระดับ 3.8% อันเป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและนโยบายการคลังที่รัดกุมของรัฐบาล นอกจากนี้ การปฏิรูปเศรษฐกิจในภาคต่าง ๆ ที่มีความก้าวหน้ามาก โดยเฉพาะในภาคพลังงาน การจัดเก็บภาษี และการแปรรูปธนาคารของรัฐ จะมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจด้วย[su_spacer size=”20″]
ในปี 2560 การค้าระหว่างไทยกับบัลแกเรียมีมูลค่ารวม 102.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ร้อยละ 17.60 โดยสินค้าส่งออกของไทยที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ ยางพารา ด้ายและด้ายเส้นใยประดิษฐ์ วงจรพิมพ์ หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ และเส้นใยประดิษฐ์ ส่วนสินค้านำเข้าของไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และยุทธปัจจัย[su_spacer size=”20″]
แม้ว่าบัลแกเรียยังคงติดอันดับประเทศที่ยากจนที่สุดในจำนวนประเทศสมาชิก EU แต่มาตรฐานคุณภาพชีวิตเริ่มเพิ่มสูงขึ้น บัลแกเรียเป็นประเทศในยุโรปตะวันออกที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ดี โดยบัลแกเรียมีข้อได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจตรงที่มีค่าจ้างแรงงานถูก ประชากรมีการศึกษาสูงและพูดได้หลายภาษา ประกอบกับมีอาณาเขตติดต่อกับหลายประเทศ ได้แก่ โรมาเนีย เซอร์เบีย มอนเตเนโกร มาซิโดเนีย กรีซและตุรกี บัลแกเรียจึงสามารถเป็นประตูการค้าสู่ประเทศอื่น ๆ ในคาบสมุทรบอลข่าน โดยเฉพาะประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล เช่น มาซิโดเนีย เซอร์เบียและมอนเตเนโกร อีกทั้ง บัลแกเรียยังมีทรัพยากรเป็นจำนวนมาก เช่น บ๊อกไซด์ ทองแดง ตะกั่ว ถ่านหิน แร่เหล็ก โครเมียม แมงกานีส ทองคำ และไม้ ซึ่งหากได้รับการพัฒนาและนำมาใช้ จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมของไทยได้[su_spacer size=”20″]
ไทยมีศักยภาพในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนร่วมในภาคการค้าบริการ (ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 67.4 ของ GDP ของประเทศ) ในสาขาที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ อาทิ ร้านอาหาร โรงแรม สปา และการพัฒนาธุรกิจด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากบัลแกเรียเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพไม่สูง และมีทัศนียภาพที่สวยงาม อาทิ แหล่งท่องเที่ยวชายทะเลที่ได้รับความน่าสนใจจากนักท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก และรัสเซีย ตลอดจนไทยสามารถส่งเสริมการขายสินค้าอุปโภคและการลงทุนร่วมในอุตสาหกรรมผลิตอาหารที่มีคุณภาพแต่ราคาย่อมเยา เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับบัลแกเรียแทนการนำเข้าจากประเทศในยุโรปอื่น[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูคาเรสต์