ท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ “อ่าวตังเกี๋ย” เป็นช่องทางการนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ (commodities) ที่มีความสำคัญของประเทศจีน โดยเฉพาะสินค้าจำพวกแร่และสินแร่ โลหะใช้ในอุตสาหกรรม พลังงาน และสินค้าเกษตร[su_spacer size=”20″]
ตามรายงาน สำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรคเขตฯ กว่างซีจ้วง (CIQ) เปิดเผยว่า ปี2560 เขตฯ กว่างซีจ้วงนำเข้าแร่ทองแดงรวม 481 ล็อต (+19.95%) น้ำหนัก 3.4505 ล้านตัน (+20.22%) คิดเป็นมูลค่า 4,569 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (+45.91%)[su_spacer size=”20″]
ในจำนวนข้างต้น เป็นการนำเข้าผ่านท่าเรือฝางเฉิงก่าง รวมน้ำหนัก 2.8745 ล้านตัน (+25.4%) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 83.3 ของการนำเข้าทั้งหมด มูลค่าสินค้า 3,777 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (+52.0%)ซึ่งเป็นปริมาณการนำเข้ารวมที่มากที่สุดในจีน[su_spacer size=”20″]
เหตุผลหลักที่เขตฯ กว่างซีจ้วงมีการนำเข้าทองแดงเพิ่มมากขึ้นเป็นผลมาจาก (1) การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมปลายน้ำ (ที่มีการใช้ทองแดง) ในประเทศ (2) การพัฒนาระบบพิธีการศุลกากรที่สะดวกรวดเร็ว และ (3) ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการในพื้นที่[su_spacer size=”20″]
สำนักงาน CIQ เขตฯ กว่างซีจ้วง ได้ดำเนิน 4 มาตรการในการควบคุมตรวจสอบและกักกันโรคอย่างเข้มงวดเพื่อสร้างหลักประกันด้านคุณภาพและความปลอดภัยของการนำเข้าแร่ทองแดง ดังนี้[su_spacer size=”20″]
(1) ระบบประเมินความเสี่ยงแบบรอบด้าน โดยเก็บรวมรวมข้อมูลประเทศที่ไม่ได้มาตรฐานในการส่งออกหัวแร่ทองแดง (copper concentrate) จากทุกด่านนำเข้า ใช้กระบวนการควบคุมตรวจสอบหัวแร่ที่แตกต่างกันโดยประเมินจากประเทศผู้ส่งออก ใช้ระบบเตือนภัยล่วงหน้า (early warning) กับประเทศส่งออกที่คุณภาพสินค้ามีความผันผวน มีปริมาณแร่ทองแดงต่ำ และมีสารประกอบที่เป็นอันตรายเกินมาตรฐาน ที่สำคัญได้จัดตั้งระบบควบคุมคุณภาพแบบหลายมิติตั้งแต่“สินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน + แหล่งที่มา + ซัพพลายเออร์ + ผู้รับสินค้า” เพื่อให้เข้าใจถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์แร่นำเข้า[su_spacer size=”20″]
(2) ระบบกล้องวงจรปิด (surveillancecameras) เพื่อติดตามควบคุม และตรวจสอบในทุกกระบวนการ ตั้งแต่ลานขนถ่ายสินค้า ลานสินค้า และลานสุ่มเก็บตัวอย่าง ทำให้สามารถตรวจสอบสถานการณ์ของสินค้าและสถานที่ตรวจสอบสินค้าได้ทุกเวลา และป้องกัน/หลีกเลี่ยงปัญหาการขนย้ายสินค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต และการสุ่มเก็บตัวอย่างที่ไม่ได้มาตรฐาน[su_spacer size=”20″]
(3) นัยของการควบคุมตรวจสอบขยายเป้าหมายครอบคลุมด้านความปลอดภัย สุขอนามัยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการฉ้อโกง (ไม่จำกัดเฉพาะมาตรฐานสินค้าเท่านั้น) มีการทดสอบกัมมันตภาพรังสีของสินค้าทั้งล็อต และการทดสอบสารประกอบที่เป็นอันตราย 5 รายการ (ปรอท แคดเมียม สารหนู สารตะกั่ว ฟลูออรีน) และตรวจวิเคราะห์ขยะในหัวแร่ทองแดงที่มีลักษณะทางกายภาพผิดปกติ (solid waste characteristic identification) เพื่อยับยั้งหัวแร่ทองแดงที่ไม่ได้มาตรฐานเข้าสู่จีน[su_spacer size=”20″]
และ (4) ติดต่อประสานกับบริษัทผู้นำเข้าอย่างใกล้ชิดเก็บข้อมูลสินค้านำเข้าของวิสาหกิจส่งเสริมให้บริษัทมีความรับผิดชอบด้านคุณภาพ (major liability of quality) การดำเนินนโยบายที่โปร่งใส ควบคุมระดับความน่าเชื่อถือของวิสาหกิจ และการสร้างเสถียรภาพด้านคุณภาพ[su_spacer size=”20″]
“ทองแดง”เป็นวัสดุเชิงยุทธศาสตร์กลยุทธ์ (strategic materials) ที่สำคัญของประเทศมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทหาร (defense industries)[su_spacer size=”20″]
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2559-2563) ชี้ว่า ในอนาคตรถยนต์พลังงานทางเลือกไฟฟ้าพลังลม โครงข่ายไฟฟ้า การขนส่งและการก่อสร้างจะมีการพัฒนาขนานใหญ่[su_spacer size=”20″]
ตัวอย่างเช่น ในแผนฯ ฉบับที่ 13 จีนจะลงทุนในระบบโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศราว 3.34 ล้านล้านหยวนคาดการณ์ว่าการเร่งพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าจะขับเคลื่อนปริมาณการใช้ทองแดงในธุรกิจพลังงานไฟฟ้าได้ 1.4-5.4 ล้านตัน[su_spacer size=”20″]
หัวแร่ทองแดงเป็นสินค้านำเข้าที่มีมูลค่าสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน สำนักงาน CIQ เขตฯกว่างซีจ้วงออกโรงเตือนบริษัทผู้นำเข้าว่า ต้องให้ความสำคัญกับการเซ็นสัญญาและการตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนรับสินค้า ระบุปริมาณสารประกอบ(ที่เป็นอันตราย)ในปริมาณที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปริมาณของสิ่งเจือปนอย่างละเอียด ระบุข้อสัญญาที่ชัดเจนเรื่องการปรับราคาและข้อสัญญาอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมาตรการการจัดการอย่างชัดเจน อาทิ กากแร่ปริมาณสารประกอบที่เป็นอันตรายเกินมาตรฐาน สินค้าไม่ตรงตามเอกสารสัญญา และการระบุให้ใช้ผลการตรวจสินค้าที่ท่าเรือปลายทางเป็นหลักฐานในการชำระบัญชีการค้า เพื่อสร้างหลักประกันด้านคุณภาพและความปลอดภัย ขณะเดียวกันก็เป็นการรักษาสิทธิอันชอบตามกฎหมาย[su_spacer size=”20″]