หลังจากนครกุ้ยหยาง ซึ่งเป็นเมืองเอกของมณฑลกุ้ยโจวได้ลงนามความร่วมมือกับสวนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจงกวนชุน (Zhongguancun Science Park) ซึ่งได้ฉายาว่าเป็น “Silicon Valley” ของจีน เมื่อปี 2556 มณฑลกุ้ยโจวก็ได้เริ่มพัฒนาตนเองให้ก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลาง Big Data ของประเทศอย่างต่อเนื่อง[su_spacer size=”20″]
รัฐบาลจีน โดยคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรมและสารสนเทศ และ Cyberspace Administration of China ได้อนุมัติให้กุ้ยโจวเป็นเขตนำร่อง Big Data ระดับประเทศแห่งแรกของจีน (National Big Data Pilot Zone) โดยในปี 2560 ที่ผ่านมา กุ้ยโจวได้ดึงดูดโครงการ Big Data จำนวนทั้งสิ้น 263 โครงการ (โครงการที่น่าสนใจ เช่น Cloud Computing ของอาลีบาบา และศูนย์เก็บข้อมูลของ Apple) รวมมูลค่า 35,870 ล้านหยวน มีบริษัทด้าน Big Data จำนวนรวมเกือบ 9,000 ราย เพิ่มขึ้นจาก 3 ปีก่อน ที่มีเพียง 1,400 ราย และได้สร้างธุรกิจและตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เช่น ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจ Call Center เป็นต้น ซึ่งสร้างตำแหน่งงานใหม่ในพื้นที่กว่า 200,000 ตำแหน่ง[su_spacer size=”20″]
อนึ่ง กุ้ยโจวมีปัจจัยที่เอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยี เนื่องจากมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 15 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิในฤดูร้อนเฉลี่ยอยู่ที่เพียง 25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นผลดีต่อการควบคุมอุณหภูมิของอุปกรณ์ IT นอกจากนี้ กุ้ยโจวยังเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญของจีน จึงทำให้มีค่าไฟฟ้าที่ต่ำ รวมทั้งยังเป็นเมืองที่มี Wi-Fi ครอบคลุมมากที่สุดเมืองหนึ่งด้วย[su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง