ในปี 2560 นับเป็นช่วงปีแห่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป ทั้งอียู (EU28) และยูโรโซน (EA19) โดยเศรษฐกิจยูโรโซนปิดฉากปี 2560 ด้วยสถิติการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดในรอบ 7 ปี[su_spacer size=”20″]
นาย Pierre Moscovici กรรมาธิการด้านเศรษฐกิจและการเงิน ได้รายงานว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อียูสร้างงานใหม่กว่า 8 ล้านตำแหน่ง ทำให้อัตราการว่างงานในอียูลดจาก 10.9% ในปี 2556 ลงมาที่ 7.8 % ในปี 2560 ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจที่สอดรับประสานกันระหว่างประเทศหลักของยูโรโซน สะท้อนให้เห็นว่าปัจจัยทางการเมือง (การเลือกตั้งในประเทศหลักซึ่งได้แก่ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ออสเตรียและเยอรมนี) ไม่ได้ส่งผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจในอียูเท่าใดนัก[su_spacer size=”20″]
ในปี 2561 บัลแกเรียรับตำแหน่งประธานคณะมนตรีในช่วงครึ่งแรกของปี 2561 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศนี้รับตำแหน่งประธานหมุนเวียนของอียู โดยบัลแกเรียได้กำหนดวาระงานสำคัญคือ (1) อนาคตของยุโรปและเยาวชน (2) ความสัมพันธ์กับประเทศบอลข่านตะวันตก (3) ความมั่นคงและเสถียรภาพในยุโรป และ (4) การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปคาดว่า เศรษฐกิจอียูน่าจะเติบโตในอัตราเฉลี่ยปราณ 2.1 % ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดี เป็นการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ต่อเนื่องจากปี 2560 ขณะที่อัตราการเงินเฟ้อยังอยู่ที่ 1.7 % เท่าเดิม[su_spacer size=”20″]
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับไทยนั้น ฝ่ายอียูจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมต่างๆ ในกรอบ Asia – Europe Meeting หรือ ASEM ซึ่งมีประเทศสมาชิก 53 ประเทศ รวมทั้งไทย โดยบัลแกเรีย จะเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีด้านวัฒนธรรมระหว่าง 1-2 มี.ค. 2561 การประชุมรัฐมนตรีด้านการคลัง ระหว่างวันที่ 25 – 26 เม.ย. 2561 และที่สำคัญ คือ การประชุมระดับผู้นำ ASEM ที่กรุงบรัสเซลส์ ระหว่าง 16-17 ต.ค. 2561[su_spacer size=”20″]
สำหรับกฎระเบียบที่สำคัญของอียูที่จะออกมาหรือมีผลบังคับใช้ในปี 2561 นั้น มีเรื่องที่อาจกระทบต่อผู้ประกอบการไทย ดังนี้[su_spacer size=”20″]
(1) กฎระเบียบเรื่อง General Data Protection Regulation (GDPR) จะเริ่มมีผลบังคับใช้ 25 พ.ค. 2561 นี้ โดยมีสาระสำคัญ คือ บริษัทธุรกิจที่จัดเก็บและจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองอียู (มักเป็นธุรกิจที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเก็บข้อมูลประเภทชื่อ ที่อยู่ รวมทั้งรสนิยมในการสืบค้นและสั่งซื้อสินค้าและบริการ) จะต้องเพิ่มมาตรการปกป้องข้อมูลต่าง ๆ นอกจากนี้กฎระเบียบกำหนดไว้ว่า ข้อมูลเหล่านี้จะไม่สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ หากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าตัว การละเมิดกฎระเบียบนี้อาจถูกปรับเป็นจำนวนเงินค่อนข้างสูง และที่สำคัญกฎระเบียบนี้จะมีผลบังคับใช้ปกป้องข้อมูลพลเมืองอียู ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก และแม้ว่าบริษัทธุรกิจดังกล่าวจะไม่ได้ตั้งอยู่ในอียูก็ตาม (รวมทั้งบริษัทธุรกิจที่ตั้งอยู่ในไทย)[su_spacer size=”20″]
(2) อียูยังคงความเคร่งครัดในการพัฒนาระเบียบเกี่ยวกับคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร โดยอียูได้ประกาศรายชื่ออาหารใหม่ที่ได้รับการอนุมัติในอียูเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบได้ที่ ec.europa.eu/food/safety_en ซึ่งตอนนี้มีผลบังคับใช้แล้ว นอกจากนี้ ยังได้ออกกฎระเบียบ (EC) No 2017/625 “Official Control Regulation (OCR)” หรือ การตรวจสอบและควบคุมการบังคับใช้กฎระเบียบอาหารและอาหารสัตว์ กฎระเบียบด้านสุขภาพ และสวัสดิภาพสัตว์ กฎระเบียบด้านสุขภาพพืช และผลิตภัณฑ์อารักขาพืช อยู่ในกฎระเบียบฉบับเดียว โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือน ธ.ค. 2562 เป็นต้นไปทั้งนี้
อียูมีท่าทีที่จะออกกฎระเบียบจำกัดปริมาณไขมันทรานส์ในอาหารหรือห้ามใช้ไขมัน ทรานส์ในอาหารเหมือนสหรัฐฯ และเปิดอภิปรายกับภาคประชาสังคม (public consultation)ผู้ประกอบการไทยควรต้องเตรียมตัวให้พร้อม ในการรับมือกับกฎระเบียบใหม่ของอียู ทั้งเรื่อง GDPR และความปลอดภัยของอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคทางการค้าที่อาจเกิดขึ้น