ช่วงปลายปีถือเป็นช่วงไฮซีซั่นของการชอปปิงออนไลน์ในจีน เนื่องจากมีกิจกรรมชอปปิงออนไลน์สำคัญ ได้แก่ กิจกรรมวันคนโสด (11.11) ซึ่งริเริ่มโดยเครืออาลีบาบา และในปีนี้ทำสถิติยอดการใช้จ่ายออนไลน์รวม 2.95 แสนล้านหยวน แบ่งเป็น เครืออาลีบาบา 1.68 แสนล้าน และคู่แข่งของอาลีบาบาอย่าง jd.com อีก 1.27 แสนล้านหยวน[su_spacer=”20″]
เครืออาลีบาบาเป็นเจ้าของเว็บไซต์ชอปปิงออนไลน์ยอดนิยมอย่าง “เถาเป่า” “Tmall”และยังมีระบบชำระเงินออนไลน์ “อาลีเพย์” ของตนเอง ขณะที่ jd.com เลือกจับมือกับ “วีแชท” แอพพลิเคชั่นเครือข่ายสังคมออนไลน์อันดับ 1 ในจีน ซึ่งมีระบบชำระเงินออนไลน์ “วีแชทเพย์” คู่แข่งสำคัญของอาลีเพย์[su_spacer=”20″]
จากสถิติข้างต้น ถือว่า อาลีบาบาเฉือนชนะ jd.comในศึกกิจกรรมชอปปิงออนไลน์วันคนโสดไปได้ แต่ยอดขายในวันคนโสดของ jd.com เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้ “อาลีย์เพย์” ยังต้องเผชิญศึกอีกด้านกับ “วีแชทเพย์” ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าในการชำระค่าสินค้าบริการเล็ก ๆ น้อย ๆ ในร้านค้า เนื่องจากใช้งานสะดวกและมีผู้ใช้งาน “วีแชท” จำนวนมาก โดยปัจจุบัน มีผู้ใช้งานวีแชทกว่า 900 ล้านบัญชี และมีผู้ใช้งานวีแชทเพย์ประมาณ 600 ล้านบัญชี ขณะที่อาลีเพย์มีผู้ใช้งานประมาณเพียง 520 ล้านบัญชี[su_spacer=”20″]
ดังนั้น เพื่อที่จะแข่งขันในตลาดการชำระสินค้าออนไลน์ในร้านค้า อาลีเพย์ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งในการชำระเงินออนไลน์ของจีนจึงได้เปิดตัวโปรโมชั่นพิเศษ “อั่งเปาเมคมันนี่” ออกมาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 โดยให้ผู้ใช้งานอาลีเพย์เข้าไปสร้างคิวอาร์โคดในฟังก์ชั่น “อั่งเปาเมคมันนี่” จากนั้นจึงนำคิวอาร์โคดไปให้ผู้ใช้งานอาลีเพย์รายอื่นสแกนเพื่อรับอั่งเปา และตนเองก็สามารถสแกนคิวอาร์โคดของคนอื่นเพื่อรับอั่งเปาได้เช่นเดียวกัน มูลค่าตั้งแต่ 0.3 ถึง 99 หยวน[su_spacer=”20″]
เมื่อสแกนคิวอาร์โคด “อั่งเปาเมคมันนี่” ผู้สแกนจะได้รับอั่งเปาซึ่งสามารถใช้ชำระเงินออนไลน์ในร้านค้าทั่วไปได้ แต่ไม่สามารถใช้ชอปปิงออนไลน์และโอนอั่งปาให้ผู้อื่นไม่ได้ หากยังไม่ใช้ ระบบจะเก็บอั่งเปาเอาไว้ใน pocket โดยอั่งเปามีอายุ 3 วัน เมื่อใช้ไปแล้ว จึงจะสามารถสแกนคิวอาร์โคดเพื่อรับอั่งเปาใหม่ได้ วันละ 1 ครั้ง[su_spacer=”20″]
เมื่อใช้อั่งเปาชำระสินค้า ระบบจะนำอั่งเปาไปเป็นส่วนลดค่าสินค้า โดยค่าสินค้าที่เกินยอดอั่งเปาจะถูกหักจากยอดคงเหลือในอาลีเพย์หรือบัญชีธนาคารที่ผูกกับอาลีย์เพย์ เท่ากับว่า อาลีเพย์ช่วยจ่ายสินค้าให้ส่วนหนึ่ง เมื่ออั่งเปาถูกใช้แล้ว เงินตอบแทนมูลค่าเท่ากับอั่งเปาจะถูกส่งเข้าบัญชีอาลีเพย์ของเจ้าของคิวอาร์โคด[su_spacer=”20″]
อาลีบาบาจัดโปรโมชั่นพิเศษ “อั่งเปาเมคมันนี่” จ่ายค่าอั่งเปาสำหรับผู้สแกนคิวอาร์โคดและค่าตอบแทนสำหรับเจ้าของคิวอาร์โคดนี้ เพื่อสร้างกระแสในหมู่ผู้ใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ผู้ที่ใช้ทั้งอาลีเพย์และวีแชทเพย์ เลือกใช้อาลีเพย์จ่ายสินค้าตามร้านค้าแทนการใช้วีแชทเพย์ และดึงดูดให้เกิดผู้ใช้อาลีเพย์รายใหม่ รวมทั้ง ทำให้ร้านค้าเลือกที่จะแนะนำลูกค้าให้ใช้อาลีเพย์สแกนคิวอาร์โคดรับอั่งเปาก่อนจ่ายค่าสินค้า เพราะนอกจากร้านค่าได้เงินค่าสินค้าแล้ว ยังได้ค่าตอบแทนจากการให้สแกนคิวอาร์โคด “อั่งเปามันนี่” ด้วย[su_spacer=”20″]
เป็นที่น่าจับตามองต่อไปว่า วีแชทเพย์ซึ่งใช้ข้อได้เปรียบจากการเป็น chat application ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในจีน จะมีความเคลื่อนไหวใด ๆ เพื่อรุกกลับอาลีเพย์หรือไม่ ซึ่งหากวีแชทเพย์มีโปรโมชั่นตอบโต้ ก็จะเป็นเกมกลยุทธ์การตลาดที่ทำให้การต่อสู้ระหว่างสองค่ายยักษ์ใหญ่ของจีนเข้มข้นขึ้นอีก[su_spacer=”20″]
ปัจจุบัน ระบบการชำระเงินออนไลน์และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ คงไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนไทย เนื่องจากเริ่มมีบริการลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นแล้ว และมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นตามพฤติกรรมผู้บริโภคสมัยใหม่ ดังนั้น กลยุทธ์การตลาดระหว่างอาลีเพย์กับวีแชทเพย์ที่มีการตอบโต้อย่างดุเดือดอาจเป็นกรณีศึกษาที่มีประโยชน์ที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจบริการทางการเงินแบบออนไลน์ของไทยได้ โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นที่ต้องการดึงดูดผู้ใช้ให้หันมาใช้บริการมากขึ้น ซึ่งก็ต้องอาศัยการมีโปรโมชั่นดี ๆ น่าสนใจ เช่นเดียวกับที่สองบริษัทของจีนใช้กัน [su_spacer=”20″]