เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2560 ประธานาธิบดี Htin Kyawได้ลงนามกฎหมายในบริษัทเมียนมา หรือ Myanmar Companies Law ซึ่งจะอนุญาตให้บริษัทต่างชาติถือหุ้นในบริษัทเมียนมาได้ร้อยละ 35 จากเดิมที่อนุญาตให้คนเมียนมาถือหุ้นเท่านั้น ซึ่งจะเปิดโอกาสให้บริษัทท้องถิ่นเข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้น รวมทั้งเปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติที่รวมทุนกับบริษัทท้องถิ่นสามารถลงทุนในสาขาขายปลีก และซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง (Yangon Stock Exchange – YSX) ได้[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเมียนมาประกาศว่า กฎหมาย Myanmar Companies Law จะมีผลบังคับใช้ภายในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ เนื่องจากต้องการเวลาในการจัดทำกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การจัดตั้งระบบจดทะเบียนบริษัทออนไลน์พร้อมคู่มือ การฝึกอบรมบุคลากร และอื่น ๆ[su_spacer size=”20″]
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2560 นาย Win Khaing รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการก่อสร้าง เมียนมา ประกาศกฎระเบียบใหม่ภายใต้กฎหมาย Condominium Law อนุญาตให้ชาวต่างชาติพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมาก่อน (Myanmar Investment Commision – MIC)[su_spacer size=”20″]
ต่อมา ในวันที่ 11 ธันวาคม 2560 ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (Central Bank of Myanmar – CBM) ประกาศว่าจะอนุญาตให้ธนาคารต่างชาติให้บริการด้านการเงินเพื่อการส่งออก (export financing services) เพื่อให้บริษัทท้องถิ่นเข้าถึงแหล่งทุนมากขึ้น ทั้งนี้ บริษัทต่างชาติที่ประสงค์จะให้บริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกจะต้องได้รับอนุญาตจาก CBM ก่อนเช่นกัน[su_spacer size=”20″]
ในด้านมูลค่าการค้ากับต่างประเทศของเมียนมานั้น สูงกว่า 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งรวมถึงมูลค่าการส่งออกกว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการนำเข้ากว่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนักวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจตั้งข้อสังเกตว่าเมียนมานำเข้าสินค้าประเภท luxury มากขึ้น และสินค้าที่เมียนมาส่งออกมากที่สุด ได้แก่ สิ่งทอ ก๊าซธรรมชาติ น้ำตาล และเครื่องประดับ[su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์ เมียนมา มีนโยบายส่งเสริมการค้าในภาคเกษตร ด้วยการปรับปรุงอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรและการปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2560 กระทรวงพาณิชย์ เมียนมา ได้ออกคำสั่งอนุญาตการส่งออกโคมีชีวิต เพื่อสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรมากขึ้น[su_spacer size=”20″]
ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 – 2561 (เดือนเมษายน – กันยายน 2560) การลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมามีมูลค่า 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการลงทุนจากต่างชาติในเมียนมา ในปีงบประมาณ 2560 – 2561 มีมูลค่า 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีจำนวน 136 โครงการ (ณ เดือนพฤศจิกายน 2560) และในเดือนพฤศจิกายน 2560 นั้น ไทยเป็นนักลงทุนอันดับ 3 ในเมียนมารองจากจีนและสิงคโปร์[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ รัฐบาลเมียนมามีแผนจะเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษที่เมือง Dala ภาคย่างกุ้ง หลังจากการก่อสร้างสะพาน Yangon-Dala เสร็จสิ้นในปีงบประมาณ 2563 – 2564 เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ และเพิ่มโอกาสด้านการงานและด้านธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่น[su_spacer size=”20″]
รัฐบาลเมียนมาเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและนักธุรกิจท้องถิ่นเข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้น ผ่านกฎหมาย Myanmar Companies Law และกฎระเบียบใหม่ของ CBM เพื่อกระตุ้นการเติบโตของภาคธุรกิจเมียนมาและเศรษฐกิจเมียนมา นอกจากนี้ ยังเปิดเสรีภาคอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ตลอดจนวางแผนสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ในย่างกุ้ง ซึ่งล้วนแต่เปิดโอกาสการค้าการลงทุนให้แก่นักธุรกิจไทยและต่างชาติมากขึ้น[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง