โรงงานน้ำตาลในกว่างซีพร้อมเปิดหีบอ้อย ฤดูกาลผลิต 2560/2561 โดยในฤดูกาลผลิตนี้จะเร่งผลักดันการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ในธุรกิจน้ำตาลให้ครอบคลุมทั้งมณฑล เพื่อจัดการปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำตาลและสร้างหลักประกันให้กับผู้บริโภคกว่างซีเป็นแหล่งผลิตอ้อยและน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 1 ของจีนเป็นเวลา 10 กว่าปีติดต่อกัน ปริมาณการผลิตคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของทั้งประเทศ จึงได้รับการขนานนามเป็น “ถังน้ำตาล” ของจีนจากการคาดการณ์ในฤดูกาลผลิต 2560/2561 กว่างซีมีพื้นที่ปลูกอ้อยราว 4.75 ล้านไร่ มีปริมาณอ้อยเข้าหีบราว 48 ล้านตัน และจะได้ผลผลิตน้ำตาลราว 5.8 ล้านตัน[su_spacer size=”20″]
หลายปีมานี้ ธุรกิจน้ำตาลในจีนต้องเผชิญความท้าทายจากปัญหาต้นทุนการผลิตในประเทศที่พุ่งสูงและการทะลักเข้าของน้ำตาลราคาถูกจากต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดปัญหาการลักลอบนำเข้าน้ำตาลและการปลอมแปลงตราสินค้าขั้นรุนแรง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 เขตฯ กว่างซีจ้วงในฐานะแหล่งผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของจีนได้เริ่มผลักดันการพัฒนา “ระบบตรวจสอบย้อนกลับ” เพื่อใช้จัดการกับปัญหาน้ำตาลลักลอบ คุ้มครองตลาดน้ำตาลและรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจน้ำตาลในประเทศระบบดังกล่าวมีรัฐวิสาหกิจ Guangxi State FarmGroup เป็นผู้นำหลัก นายจ้าว เหว่ย ปัง ประธานกลุ่มบริษัท Guangxi State FarmGroup ให้ข้อมูลว่า ได้มีการพัฒนาระบบ QR Code เพื่อป้องกันการปลอมแปลงสินค้าแล้ว ปัจจุบัน มีโรงงานน้ำตาลที่ผ่านการขึ้นทะเบียนในระบบตรวจสอบย้อนกลับ 52 ราย[su_spacer size=”20″]
นอกจากการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) แล้ว กว่างซียังดำเนินมาตรการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจน้ำตาลจีน และสร้างหลักประกันความปลอดภัยของน้ำตาลอย่างอื่นควบคู่กันด้วยอาทิ การพัฒนาแหล่งปลูกอ้อยที่ให้ผลผลิตและค่าความหวานสูง การส่งเสริมการควบรวมกิจการของโรงงานน้ำตาลขนาดเล็ก การพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในธุรกิจน้ำตาลจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ การส่งเสริมการใช้เครื่องจักรทางการเกษตรเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิต การส่งเสริมการใช้ระบบสารสนเทศ (Informatization) ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลในฤดูกาลผลิต 2559/2560 ภาพรวมของธุรกิจน้ำตาลกว่างซีเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ได้ผลผลิตน้ำตาล 5.295 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.9 แสนตัน พื้นที่ปลูกอ้อย 4.67 ล้านไร่ เพิ่มขึ้น 2.29 ล้านไร่ อัตราการผลิตน้ำตาล 12.31% output/input) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.78 จุด และชาวไร่อ้อยมีรายได้รวม 21,543 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นราว 1,600 ล้านหยวน ราคาน้ำตาลเฉลี่ยตันละ 6,749 หยวน เพิ่มขึ้นตันละ 1,186 หยวน อัตราการจ่ายชำระค่าอ้อย 98.88% เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จุด มูลค่ารวมการผลิตภาคอุตสาหกรรมน้ำตาล (ไม่รวมถึงการผลิตกระดาษจากชานอ้อย ยีสต์ แอลกอฮอล์ ปุ๋ยผสม และอาหารสัตว์) 36,000 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 8.43%[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ เมื่อ 22 พฤษภาคม 2560 รัฐบาลจีนได้เริ่มดำเนินนโยบายการจัดเก็บภาษีน้ำตาลนำเข้านอกโควตาเพื่อปกป้องตลาดน้ำตาลในจีนเป็นเวลา 3 ปี รายละเอียดดังนี้[su_spacer size=”20″]
– อัตราภาษี 45% ระหว่างวันที่ 22 พ.ค.2560 – 21 พ.ค.2561
– อัตราภาษี 40% ระหว่างวันที่ 22 พ.ค.2561 – 21 พ.ค.2562
– อัตราภาษี 35% ระหว่างวันที่ 22 พ.ค.2562 – 21 พ.ค.2563[su_spacer size=”20″]
ในปีนี้ รัฐบาลกลางได้กำหนดให้ “น้ำตาล” เป็นสินค้าเชิงยุทธศาสตร์แห่งชาติ (NationalStrategic Resources) เช่นเดียวกับธัญพืช น้ำมัน และฝ้าย ซึ่งการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ข้างต้นเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาของธุรกิจน้ำตาล[su_spacer size=”20″]