- นักวิจัยทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงชาวไทย คว้ารางวัล OUTSTANDING ONE HEALTH RESEARCHER IN AQUACULTURE AWARD จาก The Foundation for Conservation of Biodiversity (FUCOBI) สาธารณรัฐเอกวาดอร์
ดร. ศุภรัตน์ แตงชัยภูมิ เป็นตัวแทนทีมวิจัยขึ้นรับรางวัลในงานประชุมวิชาการ The 115th Annual Meeting of the National Shellfisheries Association (NSA) ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 28 มีนาคม 2566 ณ เมืองมัลติมอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา งานวิจัยดังกล่าว บุกเบิกการศึกษาบทบาทและหน้าที่ของสารพันธุกรรมของไวรัสที่แทรกอยู่ในจีโนมของกุ้งหรือ Endogenous viral elements (EVEs) ที่เกี่ยวข้องกับกลไกการตอบสนองของกุ้งต่อการติดเชื้อไวรัส ผลจากงานวิจัยที่ได้จะนําไปสู่การนําไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรคระบาดที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกุ้งที่เป็นปัญหาสําคัญในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งทั่วโลก
- ผลสําเร็จครั้งแรกของไทย ในการฉายรังสีมะม่วงมหาชนกและส้มโอ เพื่อการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา
โครงการวิจัยดังกล่าว ได้รับความร่วมมือระหว่าง สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. และ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดทำขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของทางสหรัฐอเมริกาในการป้องกันไม่ให้ไข่แมลงศัตรูพืชที่อาจติดไป ฟักเป็นตัวและเกิดการแพร่กระจายของแมลงในประเทศปลายทาง เมื่อปี 2564 ไทยสามารถส่งออก ส้มโอผลสด เป็นผลไม้สดชนิดที่ 8 ไปยังสหรัฐฯ ได้แล้ว จากเดิม 7 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ แก้วมังกร มังคุด และสัปปะรด โดยนำ ส้มโอผลสดมาทดลองฉายรังสี เพื่อวัดการกระจายปริมาณรังสีดูดกลืนในบรรจุภัณฑ์ พบว่า ผลส้มโอสดยังคงมีคุณภาพดี รสชาติและอายุการเก็บรักษาไม่แตกต่างจากส้มโอที่ไม่ผ่านการฉายรังสี ในอนาคตทีมนักวิจัยจะถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร เช่น ชาวสวน หรือ ผู้ประกอบการ ในการยกระดับคุณภาพของผลไม้ไทยก่อให้เกิดสร้างรายได้ให้กับประเทศ
- “Smoke Watch” แอปพลิเคชันแจ้งเตือนและเฝ้าระวังไฟป่าจากการเผาในที่โล่ง
สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ตระหนักถึงปัญหาไฟป่าหมอกควันภาคเหนือตอนบนว่าเป็นปัญหาสําคัญที่ส่งผลเสียทั้งต่อสุขภาพของประชาชนและต่อเศรษฐกิจ จึงได้ร่วมมือกับภาคเอกชนต่อยอดงานวิจัยสู่โครงการนวัตกรรม “Smoke Watch : แอปพลิเคชันแจ้งเตือนและเฝ้าระวังไฟป่าจากการเผาในที่โล่ง” เพื่อบริหารจัดการข้อมูลการแจ้งเหตุเผาไฟป่า และเข้าระงับเหตุได้ตรงจุดอย่างรวดเร็ว การทำงานของ Smoke Watch จะมีการแจ้งข้อมูลจุดความร้อนจากข้อมูลดาวเทียม ในระบบ VIIRS และข้อมูลการเผาของชาวบ้านในชุมชน โดยจะจัดเก็บข้อมูลสถานที่ วัน เวลา รูปภาพ เสียง ข้อความ ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ และข้อมูลผู้แจ้ง โดยมีรูปแบบการแจ้งเตือน 2 ประเภท คือ การแจ้งข้อมูลการเผา (แจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ป่าไม้) และการแจ้งข้อมูลเพื่อเป็นเบาะแส (แจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ตํารวจ) หรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องโดยทันที เมื่อสถานการณ์ควบคุมได้เรียบร้อยแล้ว จะมีอัพเดทสถานะในระบบต่อไป นอกจากนี้ การออกแบบระบบแอปพลิเคชัน Smoke Watch สําหรับผู้ใช้จะแบ่งออก เป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) จุดความร้อน VIIRS Hotspot 2) แจ้งการเกิดไฟ 3) สถิติรายงานการแจ้งไฟ และ 4) แผนที่แสดงการแจ้งไฟ อย่างไรก็ดี การแจ้งเตือน “VIIRS Hotspot” จะแสดงผลเฉพาะจุดความร้อน VIIRS ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
ภาพจาก mcot
- ‘เสื้อเกราะกันกระสุนจากพลาสติก’ หนึ่งในนวัตกรรมสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทย
งานวิจัยนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนเป็นผลสําเร็จของการสนับสนุนนักวิจัยที่ได้รับทุนจาก วช. โดยการนำขยะพลาสติกที่มีจํานวนมากมาสร้างสรรค์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมความปลอดภัยให้กับทหารของประเทศ และเป็นการช่วยเสริมรายได้ให้กับคนในชุมชนด้วย การวิจัยในครั้งนี้จะนําไปสู่ การขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนชีวภาพ การจัดการขยะพลาสติก โดยการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่สําคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทยได้ ทั้งนี้ คณะนักวิจัยได้ทําการทดสอบนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก โดยการใช้เป็นขนาด 9 มม. และ 11 มม. ซึ่งจากการทดสอบ พบว่า นวัตกรรมดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการป้องกันการยิงในระยะการยิงที่ 5 เมตร 7 เมตร 10 เมตร และ 15 เมตร ได้เป็นอย่างดี
ที่มา : จดหมายข่าว วช. ปีที่ 18 ฉบับที่ 147 ประจำเดือนมิถุนายน 2566 สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เรียบเรียงโดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์