โครงการก่อสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ – บอลิคําไซ) เริ่มดําเนินการก่อสร้างแล้ว หลังจากมีการลงนามข้อตกลงการก่อสร้างเมื่อปลายเดือน ธ.ค. 2563 โดยโครงการฯ มีมูลค่าการก่อสร้างรวม ประมาณ 3.9 พันล้านบาท สปป. ลาวซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากสํานักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจ กับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) จะรับผิดชอบ 1.38 พันล้านบาท ใช้เวลาสร้าง 36 เดือน ปัจจุบันกําลังดําเนินการจัดการที่ดิน 50 เฮกตาร์ มีความคืบหน้าแล้วร้อยละ 80 ซึ่งเป็นการดําเนินการก่อนจะเริ่ม การก่อสร้างสะพานฯ
.
เมื่อการก่อสร้างสะพานแล้วเสร็จในปี 2566 จะยกระดับให้แขวงบอลิคําไซกลายเป็นศูนย์กลางด้านการค้า ในภูมิภาคอีกแห่งหนึ่ง โดย สปป. ลาวจะได้รับประโยชน์จากการบริการขนส่งสาธารณะ การดึงดูดการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ภาครัฐจําเป็นต้องจัดหาสิ่งอํานวยความสะดวกเพิ่มเติมและปรับปรุงการบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ เส้นทางแห่งนี้จะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างสามประเทศ คือ ไทย สปป. ลาว และเวียดนามที่สั้นที่สุดในระยะทางเพียง 150 กิโลเมตร โดยผ่านสะพานและทางหลวงแห่งชาติลาว หมายเลข 8
.
สะพานแห่งนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขงและยุทธศาสตร์ความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจอิระวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS) ระหว่าง สปป. ลาวกัมพูชา เมียนมา เวียดนาม และไทย โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2561 มูลค่าการค้าชายแดนจังหวัดบึงกาฬมีจํานวน 4.7 พันล้านบาท โดยไทยส่งออก คิดเป็นมูลค่า 3 พันล้านบาท สํานักงานศุลกากรบึงกาฬคาดว่า เมื่อการก่อสร้างสะพานแล้วเสร็จ การค้าชายแดน จะเพิ่มขึ้นเป็น 3 หมื่นล้านบาทต่อปี
.
ปัจจุบันไทยและ สปป. ลาวมีสะพานมิตรภาพไทย – ลาว จํานวน 4 แห่ง คือ (1) สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย – เวียงจันทน์) (2) สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร – สะหวันนะเขต) (3) สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม – คําม่วน) และ (4) สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 4 (เชียงราย – บ่อแก้ว)
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียงจันทน์