แต่ก่อนนั้น ผู้เล่นในอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจอวกาศ (Space Economy) ของไทย จะเป็นภาครัฐและบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพเพียงพอเป็นหลัก แต่ในปัจจุบัน รัฐบาลได้กำหนดให้อุตสาหกรรมอวกาศเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (10 S-Curve) แห่งอนาคต กอปรกับเทคโนโลยีอวกาศ อาทิ ดาวเทียม เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตคนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การส่งผ่านข้อมูลอินเทอร์เน็ต การใช้ระบบนำทาง (GPS) ในรถยนต์และสมาร์ตโฟน การตรวจเช็กรายงานข้อมูลสภาพอากาศและค่าฝุ่น PM 2.5 รวมถึงการใช้ประโยชน์ด้านธุรกิจ อาทิ ด้านการเกษตร โดยช่วยบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูก คาดการณ์ผลผลิต และติดตามโรคพืช ซึ่งทำให้การทำการเกษตรมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น
ด้วยความสำคัญและการเล็งเห็นศักยภาพของเศรษฐกิจอวกาศข้างต้น ภาครัฐจึงได้สนับสนุนให้ภาคเอกชนและภาคการศึกษาเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันอุตสาหกรรมอวกาศสู่เศรษฐกิจอวกาศใหม่ (New Space Economy) ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และการศึกษา เพื่อร่วมกันผลักดันระบบนิเวศ (Ecosystem) ของเศรษฐกิจอวกาศไทยในมิติต่าง ๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน องค์ความรู้ใหม่ และ Supply Chain เพื่อให้เศรษฐกิจอวกาศใหม่เป็นกลไกสำคัญ (New Engine of Growth) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://rinap.me/inter-econ/#p=20 (หน้า 18-20)