เสื้อผ้าแบบ ‘Fast Fashion’ หรือเสื้อผ้าที่มีกระบวนการผลิตและจำหน่ายอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันตามกระแสนิยมในช่วงเวลานั้น ๆ มีราคาไม่แพงและหาซื้อได้ง่าย สุดท้ายมักจะกลายเป็นขยะในที่สุดเมื่อหมดความนิยม การผลิตเสื้อผ้าในลักษณะนี้มักใช้วัตถุดิบและทรัพยากรที่สิ้นเปลืองมาก ผลสำรวจจากมหาวิทยาลัย Waterloo และ วิทยาลัย Seneca ในแคนาดา เผยว่า ผู้บริโภคชาวแคนาดาทิ้งเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย (ชนิดผ้า) คิดเป็นปริมาณราวละ 500 ล้านกิโลกรัม โดยที่วัสดุเหล่านั้นสามารถจะนํามาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้อี
สถาบันทั้ง 2 แห่งได้ประเมินตัวอย่างเสื้อผ้าที่ถูกนํามาทิ้งแล้ว พบว่า เสื้อผ้าจํานวนมากยังมีคุณภาพดีและสามารถใช้งานได้อีกระยะหนึ่ง ส่งผลให้นักวิจัยในประเทศพยายามที่จะพัฒนาวิธีการประเมินคุณภาพเนื้อผ้าเกรด A ถึง F สําหรับการขายต่อ รีไซเคิล หรือทิ้งได้ เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจต่อผู้บริโภคก่อนจะที่เสื้อผ้าเหล่านั้นจะกลายเป็นขยะในอนาคต
แนวคิด Upcycle หรือแนวโน้มการนำสิ่งของที่ใช้งานแล้วกลับมาใช้อีกครั้งไม่ได้เป็นแนวคิดรูปแบบใหม่ แต่กำลังเป็นแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดโลก ผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนมากขึ้น จนเกิดการรณรงค์ในเรื่องของการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนผ่านช่องทางสื่อมากขึ้น เช่น การใช้ Hashtag ‘upcycling /upcycled fashion /sewingtiktok’ ในช่องทาง TikTok นอกจากนั้น นักออกแบบเสื้อผ้าจากแบรนด์ดังระดับโลกได้พยายามสร้างสรรค์ผลงานโดยนําเสนอจุดขายในเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงรณรงค์ให้นําเสื้อผ้าเก่าหรือเสื้อผ้าที่ไม่ได้ใช้แล้วมาตัดเย็บให้กลายเป็นเสื้อผ้าชิ้นใหม่ เพื่อช่วยทดแทนการซื้อเสื้อผ้าแบบ Fast Fashion มากขึ้น รวมถึงการสอนตัดเย็บเสื้อผ้าเบื้องต้นและแนะนําอุปกรณ์ต่างๆ
ที่มา : สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์