พร้อมเดินหน้าเฟ้นหาการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดจากนานาชาติ ในปี พ.ศ.2565 สิงคโปร์มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องโดยใช้เชื้อเพลิงชีวภาพมากกว่า 70,000 ตันในอุตสาหกรรมเรือเดินสมุทร และเที่ยวบินของ Singapore Airlines (SIA) ทุกเที่ยวบินนั้นมีการใช้เชื้อเพลิงการบินแบบผสมผสานที่ยั่งยืน (Blended Sustainable Aviation Fuel) ซึ่งทําจากน้ำมันสําหรับประกอบอาหารและไขมันสัตว์
ซึ่งในขั้นต่อไป รัฐบาลสิงคโปร์จึงมีแผนการศึกษาและพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพและทรัพยากรชีวภาพ คือ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ (MTI) และสำนักงานเลขาธิการการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (National Climate Change Secretariat – NCCS) เปิดให้มีการประกวดราคาเพื่อค้นหาแหล่งเชื้อเพลิงชีวภาพและพลังงานทดแทนจากธรรมชาติที่มีศักยภาพทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เช่น เศษอาหารและไขมันสัตว์ โดยคํานึงถึงปัจจัยต่าง ๆ อาทิ ความคุ้มค่าในการลดการปล่อยมลพิษ โครงสร้างพื้นฐานสําหรับเชื้อเพลิงและวัตถุดิบตั้งต้น และการประยุกต์ใช้ที่เหมาะสมต่อการใช้งานในสิงคโปร์จนถึงปี พ.ศ.2593
Tuas Nexus โรงบําบัดน้ำเสียและขยะมูลฝอยแบบบูรณาการแห่งแรกของสิงคโปร์ มีแผนจะเริ่มนําเศษอาหารและน้ำที่ใช้แล้วมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพที่สามารถนําไปใช้ผลิตไฟฟ้าในโรงงานและภาคครัวเรือนในปี พ.ศ.2568 นอกจากนี้ สิงคโปร์จะรวบรวมชีวมวลจากกิ่งไม้ ใบไม้ และเศษหญ้า เพื่อนำมาใช้ในการผลิตพลังงานผ่านเทคโนโลยีการเผาไหม้ที่สวนพฤกษศาสตร์ Gardens by the Bay และ Jurong Island ทั้งนี้ การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวภาพแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ถึงร้อยละ 60 – 95
เดือนมีนาคม พ.ศ.2566 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change – IPCC) ได้รายงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศล่าสุดและแจ้งเตือนเกี่ยวกับวิกฤตของสภาพอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ IPCC จึงต้องการเรียกร้องให้ชุมชนและภาคธุรกิจดําเนินการอย่างรวดเร็วและและเด็ดขาด โดย IPCC สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีการคิดเชิงปฏิรูประบบ ใช้วิธี “glocal” หรือวิธีแก้ปัญหาจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับโลก ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงโดยนักวิชาการได้ชี้ว่า ข้อได้เปรียบของสิงคโปร์คือการมีโรงกลั่นเชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมที่มีประสิทธิภาพสูงเช่น โรงกลั่นน้ำมัน และยังมีการขนส่งทางทะเลที่สะดวก
นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังมีข้อได้เปรียบจากอุตสาหกรรมเคมีและการกลั่นเชื้อเพลิงที่มีเสถียรภาพ สามารถแยกสาร กลั่นและผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจํานวนมากด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ และการหันมาใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจะช่วยให้สิงคโปร์ มีความหลากหลายด้านพลังงาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญสําหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งแม้ว่าสิงคโปร์จะมีพื้นที่ขนาดเล็กและมีข้อจํากัดด้านทรัพยากรชีวภาพ อย่างไรก็ตามยังสามารถร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนในตลาดโลกได้นอกจากเป้าหมายการใช้พลังงานไฮโดรเจนและพลังงานชีวภาพแล้วสิงคโปร์ยังคงเดินหน้าแสวงหาการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและแหล่งพลังงานสะอาดจากต่างประเทศ
ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2566 สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักรได้จัดทําความร่วมมือ MoU on Green Economy Framework ซึ่งเน้นใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) การคมนาคมสีเขียว (2) พลังงานคาร์บอนต่ำและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และ (3) ตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนและการเงินที่ยั่งยืน และต่อมาในเดือนเมษายน สิงคโปร์และสหรัฐอเมริกาได้ประกาศ Singapore-US Third Joint Ministerial Statement on Energy Cooperation เพื่อดําเนินโครงการ The Joint Feasibility Study on Regional Energy Connectivityเน้นส่งเสริมการพัฒนาข้อริเริ่ม ASEAN Power Grid และเครือข่ายพลังงานในภูมิภาคที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
สำหรับประเทศไทยการที่สิงคโปร์มีข้อได้เปรียบที่มีโรงกลั่นเชื้อเพลิงประสิทธิภาพสูงและการขนส่งทางทะเลที่สะดวกเป็นช่องทางของผู้ประกอบการไทยที่สามารถใช้ช่องทางนี้ในการแสวงหาความร่วมมือเพื่อส่งออกทรัพยากรชีวภาพให้แก่สิงคโปร์เพื่อลดปริมาณขยะภายในประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยปรรลุเป้าหมาย carbon net zero
สำหรับประเทศไทยการที่สิงคโปร์มีข้อได้เปรียบที่มีโรงกลั่นเชื้อเพลิงประสิทธิภาพสูงและการขนส่งทางทะเลที่สะดวกเป็นช่องทางของผู้ประกอบการไทยที่สามารถใช้ช่องทางนี้ในการแสวงหาความร่วมมือเพื่อส่งออกทรัพยากรชีวภาพให้แก่สิงคโปร์เพื่อลดปริมาณขยะภายในประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยปรรลุเป้าหมาย carbon net zero
ข้อมูล: สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์
เรียบเรียงโดย: ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์