ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำที่มีอุตสาหกรรม semiconductor ซึ่งเคยเจริญรุ่งเรือง แต่ปัจจุบันอยู่ในภาวะซบเซา และปัจจุบัน รัฐบาลญี่ปุ่นได้พยายามที่จะฟื้นฟูอุตสาหกรรม semiconductor กลับขึ้นมาอีกครั้ง
ในการบรรยาย “ยุทธศาสตร์ semiconductor ของญี่ปุ่นในอนาคต” เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2566 โดยนาย Takashi Eshita รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยวากายามะ ได้ให้ภาพว่า ในอดีต ปี 2532 ญี่ปุ่นเคยมีส่วนแบ่งตลาด semiconductor ถึง 53% ในตลาดโลก มีจุดเด่น คือ มีบริษัทขนาดใหญ่ร่วมลงทุนพัฒนา ออกแบบ และผลิตอย่างครบวงจร (Integrated Device Manufacturer: IDM) ซึ่งเดิมเน้นผลิต semiconductor เฉพาะด้านสำหรับใช้ในสินค้าของบริษัทตนเอง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งของญี่ปุ่นลดลงต่อเนื่อง จากปัจจัยหลายลบหลายประการทั้งความขัดแย้งทางการค้า semiconductor ระหว่างญี่ปุ่นกับต่างประเทศในช่วงปี 2529-2532 และปัญหาของบริษัทญี่ปุ่นที่คุ้นชินกับการผลิต semiconductor ให้แก่ผลิตภัณฑ์ของตนเอง ซึ่งทำไปสู่การขาดแรงจูงใจ ไม่มีงบประมาณลงทุน และไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเข้ามาของคู่แข่ง เช่น เกาหลีใต้ และจีนไทเป
ความท้าทายสำคัญของอุตสาหกรรม semiconductor ญี่ปุ่น คือ การขาดเทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิต โดยเฉพาะขนาดของ semiconductor ที่ลดลงซึ่งต้องใช้การลงทุนสูงในการพัฒนาเทคโนโลยี
และนวัตกรรมการผลิต อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นยังมีจุดแข็งสำคัญ คือ มีบริษัทผลิตเครื่องจักรและวัตถุดิบในการผลิต semiconductor และมีบริษัทที่โดดเด่นด้านผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น flash memory, image sensor, automotive IC เป็นต้น
ปัจจุบัน รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามฟื้นฟูอุตสาหกรรม semiconductor โดยกระทรวงเศรษฐกิจญี่ปุ่น
(Ministry of Economy, Trade, and Industry: METI) ได้วางยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
เช่น การสนับสนุนให้ TSMC หรือบริษัทผลิต semiconductor ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาตั้งโรงงานในญี่ปุ่น รวมถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เพื่อพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ รวมถึงพยายามสร้างพลังขับเคลื่อนลงสู่ระดับท้องถิ่น เช่น จังหวัดมิเอะ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่การผลิต semiconductor จำนวนมากในญี่ปุ่น มีแผนจัดตั้งกลุ่มเครือข่าย Mie Semiconductor Network เพื่อเป็นplatform ความร่วมมือระหว่างบริษัทที่เกี่ยวข้อง ภาคการศึกษา และภาครัฐ แสดงให้เห็นถึงความพยายามของหน่วยงานท้องถิ่นในการร่วมมือเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม semiconductor ด้วยเช่นกัน
___________________________________________
ข้อมูล: สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา
เรียงเรียงโดย: ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
แหล่งข้อมูล: https://www.nippon.com/en/in-depth/d00853/