แนวคิดการค้าปลีกแบบไร้ขอบเขต (Unbounded Retail) เป็นการวางอนาคตให้แก่การพัฒนาอุตสาหกรรมการค้าปลีก การค้าปลีกแบบไร้ขอบเขตนอกจากจะช่วยส่งเสริมความเจริญในอุตสาหกรรมการค้าปลีกแล้ว ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมนวัตกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตอีกด้วย แต่ทว่าการค้าปลีกแบบไร้ขอบเขตยังต้องเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ เช่น ความคิดที่แตกต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรม อุปสรรคในการโฆษณาและการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การคุ้มครองผู้บริโภคและการขาดแคลนความเชี่ยวชาญ ดังนั้น สภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (CCPIT) จึงเสนอแนะว่า รัฐบาลจีนควรสร้างสภาพแวดล้อมของนวัตกรรมเพื่อแก้ไขอุปสรรคในด้านการส่งเสริมและการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และรัฐวิสาหกิจควรเร่งพัฒนาการผสมผสานกันของธุรกิจออนไลน์-ออฟไลน์ที่ไร้ขอบเขต ทั้งนี้นายเจ้า ผิง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยการค้าระหว่างประเทศเผยว่า กฎหมาย E-Commerce ฉบับใหม่ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2562 จะให้การคุ้มครองแก่ร้านค้าปลีกแบบไร้ขอบเขตตามกฎหมาย [su_spacer size=”20″]
ตัวอย่างบริษัทค้าปลีกออนไลน์ชื่อดังที่ทุกคนคงเคยได้ยินชื่อหรือคุ้นหูกัน ได้แก่ JD ซึ่งเป็นบริษัท E – Commerce ยักษ์ใหญ่ของจีนที่ร่วมกับร้านค้าปลีกเพื่อขยายการผสมผสานกันระหว่างการค้าออนไลน์และออฟไลน์ ปัจจุบัน JD ได้เข้ามาร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัลของไทยเพื่อรุก E-Commerce ในรูปแบบ B2C (Business-to-Consumer) บริษัท JD ขับเคลื่อนด้วย Big Data ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น พัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อให้แน่ใจว่าจะจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าได้ภายใน 1-2 วัน ดังนั้น ทุกวันนี้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกในไทยต้องตามให้ทันโลกยุคใหม่ที่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นในด้านการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการ [su_spacer size=”20″]
วันนี้ BIC จะขอแนะนำ 3 กลยุทธ์หนุนค้าปลีกให้แก่ผู้ประกอบการในไทยเพื่อปรับตัวให้เข้ากับยุค Thailand 4.0 และ 5 เคล็ดลับวิธีการผสมผสานการตลาดในรูปแบบ O2O เพื่อใช้การตลาด Online ในการโปรโมทธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการค้าปลีกไทย [su_spacer size=”20″]
3 กลยุทธ์หนุนค้าปลีกให้แก่ผู้ประกอบการในไทย
[su_spacer size=”20″]
1. หัวใจสำคัญของร้านค้าปลีกคือ ผู้บริโภค ความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภคมาเป็นอันดับหนึ่ง ปัจจุบัน ผู้บริโภคเดินทางไปซื้อสินค้าไม่ได้ต้องการเพียงซื้อของเสร็จแล้วกลับบ้าน แต่ยังต้องการไปพักผ่อน อัพเดทเทรนด์ต่าง ๆ ดังนั้นร้านค้าปลีกต้องมีรูปแบบการบริการที่ทันสมัย และปรับเปลี่ยนไปตามไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคต่าง ๆ อยู่เสมอ [su_spacer size=”20″]
2. การตลาดแบบผสมผสานทุกช่องทาง (Omni-Channel) เพื่อเชื่อมประสบการณ์การช้อปปิ้งแบบไร้รอยต่อ และใช้ Big data เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแบบ personalized เช่น การใช้สมาร์ทโฟนเพื่อโปรโมทและสื่อสารกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว หรือการจัดกิจกรรมอีเว้นท์ต่าง ๆ ตามไลฟ์ไตล์ของผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นการโฆษณาทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยการใช้ Big data ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อผู้บริโภคได้รับความประทับใจก็จะแชร์ไปในโลกโซเชียลให้ผู้อื่นเห็นแล้วอยากมาบ้าง นอกจากนั้น ร้านค้าปลีกควรมีระบบรับรองการจ่ายเงินผ่านมือถือ หรือที่เรียกว่าสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) เพื่อความสะดวกของผู้บริโภค [su_spacer size=”20″]
3. มองหาโอกาสเพื่อลงทุน ผู้ประกอบการค้าปลีกในไทยเป็นกลุ่มทุนใหญ่มีพร้อมทั้งความเชี่ยวชาญ เงินทุน และบุคลากร ดังนั้นเมื่อรัฐบาลลงทุนโครงการ Mega Project ด้านคมนาคมขนส่ง ก็อาจจะเป็นโอกาสของกลุ่มทุนค้าปลีกของไทยในการไปลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ [su_spacer size=”20″]
5 เคล็ดลับในการผสมผสานการตลาดในรูปแบบ O2O
[su_spacer size=”20″]
[su_spacer size=”20″]
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ กรุงปักกิ่ง